วันอังคารที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2565

เจ้าหน้าที่เรียกรับเงิน ยังไม่ได้เงิน

 บทความโดยนายก้องทภพ แก้วศรี


             การพิสูจน์เจตนา ถ้าไม่มีพยานหลักฐานเอกสาร พยานวัตถุ ต้องพิจารณาข้อเท็จจริงจากการกระทำ เป็นเรื่องที่นักฎหมายทราบเป็นอย่างดี บางครั้งเป็นเรื่องยากในการตีความการกระทำ เพื่อพิสูจน์เจตนา ซึ่งในทางคดีอาญา ต้องชัดเจน แต่ในทางการดำเนินการทางวินัย ถ้ามีข้อเท็จจริงที่น่าเชื่อว่ากระทำผิดวินัย แม้จะยืนยันได้ไม่ชัดเจนแต่น่าเชื่อ ก็สามารถลงโทษทางวินัยได้ แม้ในทางคดีอาญา ศาลจะยกฟ้องก็ตาม 

             ประเด็นในคดีปกครอง ที่จะนำเสนอในบทความนี้ เป็นเรื่องที่น่าสนใจสำหรับการดำเนินการทางวินัยบางประเด็นเป็นเรื่องยากในการพิสูจน์ เพราะไม่มีพยานหลักฐานเอกสาร พยานบุคคลในขณะเกิดเหตุมีเพียงผู้กระทำ กับผู้ถูกกระทำที่รู้เห็นการกระทำ เมื่อเกิดเรื่องแบบนี้ แล้วจะพิสูจน์ได้อย่างไรว่า มีการกระทำนั้นจริงตามข้อกล่าวหา ซึ่งคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด คดีหมายเลขแดงที่ อ.1413/2563 เป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับการดำเนินการทางวินัย ที่คณะกรรมการสอบสวน ต้องรวบรวมพยานหลักฐาน

             เจ้าหน้าที่เรียกรับเงิน ยังไม่ได้รับเงิน แต่ผลทางวินัยกลับถูกไล่ออกจากราชการ เป็นเรื่องที่ไม่คุ้มค่าสำหรับชีวิตข้าราชการ แต่ก็น่าเชื่อว่า ยังมีเจ้าหน้าที่ที่มีอำนาจ ยังฝักใฝ่ในผลประโยชน์จากหน้าที่ราชการ ทั้งรูปแบบเงินเปอร์เซ็นต์ หรือเรียกรับผลประโยชน์จากการปฏิบัติหน้าที่ราชการ ก็เป็นเรื่องปกติที่ไม่ปกติในวงราชการ ที่มีคดีให้ดำเนินการกันอยู่เนื่องๆ ทำอย่างไรได้ แม้จะทำให้ทั้งหมดเป็นคนดี คนสุจริตซื่้อตรงไม่ได้ แต่การพยายามขจัดคนที่ทุจริตประพฤติมิชอบออกไป ไม่ให้มีมากจนเกินไป ก็เป็นหนทางหนึ่งที่จะทำให้ราชการไม่ได้รับความเสียหายมาก  

            กลับมาที่เนื้อหาในบทความนี้  ในคดีนี้ เป็นกรณีเจ้าหน้าที่ใช้อำนาจหน้าที่เรียกเงินเปอร์เซนต์ โดยถูกต้องข้อกล่าวหาว่า เป็นเจ้าพนักงานใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบและฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 148 มาตรา 157 และมีมูลกระทำความผิดวินัยอย่างร้ายแรง ฐานปฎิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการ โดยมิชอบเพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้ประโยชน์ที่มิควรได้ เป็นการทุจริตต่อหน้าที่ราชการ และฐานกระทำอันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง 

           ข้อเท็จจริงมีเพียงผู้กระทำความผิดซึ่งเป็นผู้ว่าจ้าง กับผู้รับจ้างตามสัญญาจ้างเท่านั้นที่รู้เห็นและทราบเหตุการณ์ มีพยานเอกสารเป็นกระดาษขาวเล็กๆ ที่ระบุถึงจำนวนเปอร์เซ็นต์และตัวเลขจำนวนเงิน ไม่ปรากฎลายลักษรอักษรในการเรียกรับเงิน ไม่ปรากฎลายมือชื่อ แต่ภายหลังการส่งมอบงานและหน่วยงานจ่ายเงิน โดยเป็นเช็คให้แก่ผู้รับจ้าง  มีขั้นตอนเกิดขึ้นในระหว่างการเบิกจ่ายเงินตามเช็ค ที่ทำให้ผู้รับจ้างต้องติดต่อเจ้าหน้าที่การเงิน เจ้าหน้าที่ธนาคาร เจ้าหน้าที่ตำรวจ และผู้กระทำผิดซึ่งเป็นมีอำนาจสั่งจ่ายเช็ค 

 คลิกโฆษณา

           คดีนี้ ศาลปกครองชั้นต้น มีคำพิพากษาว่า "พยานบุคคลที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับเหตุการณ์ไม่มีรายใดให้การยืนยันว่าเห็นขณะทำการเรียกรับเงิน คงมีเพียงคำกล่างอ้างของผู้รับจ้างผู้กล่าวหาเท่านั้น เมื่อผู้รับจ้างเป็นผู้ร้องทุกข์กล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวน อีกทั้งทำหนังสือแจ้งคำกล่าวหานี้ต่อ ปปช.ย่อมอยู่ในสภาพที่ขาดความเป็นกลางทำให้น้ำหนักในการรับฟังในฐานะพยานหรือผู้ถูกกล่าวหายังไม่หนักแน่เพียงพอ เนื่องจากอยู่ในฐานะคู่กรณีกัน ประกอบกับพยานเอกสารที่อ้างว่าผู้กระทำผิดได้เขียนข้อความลงในกระดาษซึ่งเป็นสูตรคำนวณเงินที่เรียกรับ ผลการพิสูจน์ของสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ปรากฎว่าไม่ใช่ลายมือของผู้กระทำผิด ข้อเท็จจริงจึงยังฟังไม่ได้แน่ชัดว่าผู้กระทำผิดได้กระทำการเรียกรับเงินจากผู้รับจ้างเป็นค่าตอบแทนในการช่วยให้กลุ่มตัดเย็บเสื้อผ้าได้รับสิทธิตัดเย็บชุดเครื่องแบบนักเรียน อันเป็๋นการกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง ฐานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยมิชอบ เพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้รับประโยชน์ที่มิควรได้ อันเป็นการทุจริตต่อหน้าที่ราชการ และฐานกระทำการอันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง 

             อย่างไรก็ตาม แม้พยานหลักฐานจะฟังไม่ได้แน่ฃัดเพียงพอว่าได้กระทำการเรียกรับเงินตามที่ถูกกล่าวหาจริงหรือไม่ แต่เมื่อพิเคราะห์พยานหลักฐานดังกล่าวแล้ว โดยเฉพาะพยานพนักงานธนาคาร และพนักงานสอบสวน ซึ่งได้ให้การขณะที่ตนปฏิบัติหน้าที่ คำให้การของบุคคลดังกล่าว จึงมีความน่าเชื่อถือ เมื่อรับฟังประกอบพยานหลักฐานอื่นๆ จะเห็นได้ว่าผู้่กระทำผิดได้เข้ามาเพี่ยวข้องกับเหตุการณ์หลายเหตุการณ์ภายหลังที่ผู้กระทำผิดได้ลงนามสั่งจ่ายเช็ค ประกอบคำให้การเจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี และพยานเอกสาร การที่ผู้กระทำผิดไปพบกับผู้รับจ้างที่ธนาคาร และได้เอาเช็คคืนมาเพื่อกลับไปตรวจสอบการเบิกจ่ายเงิน ทั้งที่ขั้นตอนการเบิกจ่ายเงินไม่ได้มีปัญหาขัดข้องแต่อย่างใด การกระทำของผู้กระทำผิดจึงขัดแย้งกับข้อเท็จจริงตามพยานเอกสารหลักฐานของฝ่ายการเงินและพัสดุ  การเอาเช็คคืนมา จีงเป็นการกระทำที่ไม่มีเหตุผลอันสมควร จึงเข้าข่ายเป็นกรณีมีเหตุอันควรสงสัยอย่างยิ่งว่าได้กระทำการดังที่ถูกกล่าวหา แต่การสอบสวนไม่ได้ความแน่ชัดที่จะฟังลงโทษได้ ซึ่งผู้บังคับบัญชาอาจมีคำสั่งให้ออกจากราชการ เพราะมีมลทินหรือมัวหมองในกรณีที่ถูกสอบสวนได้ "

คลิกโฆษณา


            ศาลปกครองสูงสุด มีคำพิพากษาว่า " พฤติการณ์การกระทำตั้งแต่การสั่งระงับการจ่ายเงินตามเช็ค การเรียกเช็คคืนจากผู้รับจ้าง และการคืนเช็คให้ผู้รับจ้าง หลังจากที่ผู้รับจ้างได้แจ้งความร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีอาญา และเมื่อฟังประกอบกับคำให้การของผู้ถูกกล่าวหา รวมทั้งพยานหลักฐานอื่นเชื่อมโยงสอดคล้องต้องกัน จึงมีน้ำหนักให้รับฟังได้ว่าได้กระทำการเรียกเงินจากผู้รับจ้าง เพื่อเป็นการตอบแทนให้ผู้รับจ้างสามารถเรียกเก็บเงินตามเช็ค เมื่อผู้รับจ้างไม่ยินยอมตามข้อเรียกร้อง ทำให้ในฐานะผู้มีอำนาจสั่งจ่ายเงินตามเช็ค แจ้งให้ธนาคารระงับการจ่ายเงินตามเช็คไว้ชั่วคราวโดยปราศจากเหตุผลที่จะกระทำเช่นนั้นได้โดยชอบด้วยกฎหมาย เพื่อเป็นการต่อรองให้ผู้รับจ้างยินยอมจ่ายเงินให้ตามข้อเรียกร้อง ส่วนที่อ้างว่าลายมือที่ปรากฎในเอกสารที่มีรายละเอียดและจำนวนเงินที่เรียก ไม่ใช่ลายมือของผู้กระทำผิด(ผู้ฟ้อง) เห็นว่า แม้ผลการพิสูจน์ของสถาบันนิติวิทยาศาสตร์จะปรากฎว่าลายมือที่เขียนในเอกสาร ไม่ใช่ลายมือของผู้กระทำผิดตามที่อ้าง แต่เมื่อพิจารณาจากพยานหลักฐาน ทั้งพยานบุคคล พยานเอกสารปรากฎข้อเท็จจริงชัดเจนว่า ผู้กระทำผิดกับผู้รับจ้างได้ติดต่อหรือพบกันหลายครั้ง ทั้งที่ทำงานและสถานที่อื่น ภายหลังจากที่มีการสั่งจ่ายเช็คพิพาทดังกล่าวแล้ว โดยไม่มีเหตุที่จะต้องติดต่อกันและผู้กระทำผิดเป็นผู้สั่งระงับการจ่ายเช็คและเรีกกเอาเช็คคืนมาจากผู้รับจ้าง โดยไม่มีเหตุทีจะอ้างได้ตามระเบียบกฎหมายอันเป็นพฤติการณ์ที่มิชอบที่ผู้สุจริตจะพึงกระทำ 

            ประกอบกับ ผู้กระทำผิดและผู้รับจ้าง ไม่มีสาเหตุโกรธเคืองกันมาก่อน จึงไม่มีเหตุที่ผู้รับจ้างจะสร้างพยานหลักฐานเท็จเพื่อใส่ร้าย แต่เหตุที่ผู้รับจ้างร้องเรียนกล่าวหาในเรื่องนี้ สืบเนื่องมาจากผู้รับจ้างไม่ได้รับเงินค่าจ้าง ตามสัญญาจ้าง อันเป็นการกระทำเพื่อรักษาสิทธิของตนเองเท่านั้น โดยไม่ปรากฎข้อเท็จจริงว่ามีเจตนากลั่นแกล้งร้องเรี่ยนหรือมีเหตุผลใดที่พอจะชี้ให้เห็นว่า ผู้รับจ้างได้ให้การปรักปรำผู้กระทำผิดว่าเรียกรับเงินโดยไม่มีมูลความจริง ในทางตรงกันข้ามกลับปรากฎข้อเท็จจริงว่าผู้กระทำผิดได้สั่งระงับการจ่ายเงินตามเช็คโดยไม่มีเหตุอันควร ซึ่งมีลักษณะเป็นการบีบบังคับให้ยินยอมทำตามสิ่งที่เรียกร้อง การให้ถ้อยคำของผู้ถูกกล่าวหา จึงมีน้ำหนักเชื่อได้ว่าผู้กระทำผิดได้มอบเอกสารที่มีรายละเอียดและจำนวนเงินที่เรียกจากผู้รับจ้างจริง 

 คลิกโฆษณา

           การที่ผู้กระทำผิด ขณะเกิดเหตุดำรงตำแหน่ง และมีหน้าที่ดูแล ควบคุม รับผิดชอบการปฏิบัติงานของฝ่ายการเงินและพัสดุ ฝ่ายแผนงานและงบประมาณ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย ซึ่งการเบิกจ่ายค่าจ้างตามเช็ค ซึ่งได้สั่งจ่ายให้แก่ผู้รับจ้าง เป็นงานในฝ่ายการเงินและพัสดุ จึงเป็นงานในหน้าที่ โดยผู้กระทำผิดเป็นผู้สั่งจ่ายเช็ค  ได้เรียกเงินจากผู้รับจ้างโดยมิชอบ แต่ผู้รับจ้างไม่ยินยอมตามที่เรียกร้อง ทำให้ผู้กระทำผิดในฐานะผู้สั่งจ่ายเช็ค ได้แจ้งให้ธนาคาร ระงับการจ่ายเงินตามเช็คดังกล่าวและเรียกเช็คคืนจากผู้รับจ้าง ทั้งที่ไม่อาจกระทำเช่นน้ันได้ตามกฎหมาย เพราะไม่มีปัญหาใดๆที่จะระงับการจ่ายเงินตามเช็คหรือเรียกเช็คดังกล่าวคืน ทั้งนี้ เพื่อเป็นการต่อรองให้ผูรับจ้างยินยอมจ่ายเงินให้แก่ผู้กระทำผิดตามที่เรียกร้อง ซึ่งแม้ผู้รับจ้างจะยังไม่ได้จ่ายเงินให้ก็ตาม แต่พฤติการณ์ข้างต้นเข้าข่ายเป็นการเรียกเงินจากผู้รับจ้างแล้ว ย่อมถือได้ว่าการกระทำการดังกล่าว เพื่อให้ตนเองได้รับประโยชน์ที่มิควรได้ จึงเป็นการกระทำผิดวินัยฐานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยมิชอบ เพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้รับประโยชน์ที่มิควรได้ อันเป็นการทุจริตต่อหน้าที่ราชการและฐานกระทำการอันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง การมีคำสั่งลงโทษไล่ออกจากราชการ จึงเป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว 

            จากที่ผู้เขียนนำมาเสนอ จะเป็นแนวทางสำหรับการสอบสวนรวบรวมพยานหลักฐานและการทำความเห็นในสำนวน กับทั้งเป็นตัวอย่างการกระทำผิดให้ข้าราชการผู้มีอำนาจหน้าที่ ประพฤติปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยชอบ ไม่กระทำการทุจริตหรือประพฤติมิชอบในหน้าที่ราชการ 

วันพุธที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2565

ผู้จัดการมรดกต้องแบกรับทั้งทรัพย์สิน และหนี้สินของผู้ตาย จริงหรือไม่

 บทความโดยก้องทภพ แก้วศรี


               ช่วงนี้มีข่าวน่าเศร้าและเสียใจ แต่ก็ยังมีประเด็นที่น่าคิดจากมุมมองนักกฎหมายที่ออกมาให้ความเห็น โดยมีประเด็นหนึ่งที่อ่านแล้วอาจรู้สึกว่าต้องเป็นอย่างนั้นเลยหรือ คือ ประเด็นที่ว่า "ผู้จัดการมรดก ต้องแบกรับทั้งทรัพย์สินและหนี้สินของผู้ตายด้วย "  ซึ่งเป็นจริงหรือไม่ เราจะมาหาความรู้และทำความเข้าใจกันในบทความนี้  โดยเฉพาะผู้ที่จะเป็นผู้จัดการมรดก 

                คำว่า "แบกรับ" ที่ว่านี้ จะหมายถึงต้องรับผิดชอบในหนี้นั้น หรือเป็นเพียงแค่รับหนี้นั้นมาดำเนินการจัดการตามหลักกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเรื่องมรดก และการจัดการมรดก ซึ่งในการนำเสนอบทความในเรื่องนี้ จะเสนอให้มุมมองของคำว่าแบกรับ ไปในสองทางที่กล่าวมา 

                ผู้จัดการมรดก คือ ผู้ที่มีหน้าที่เข้ามาจัดการมรดกของผู้ตาย หรือเพื่อแบ่งทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทของผู้ตาย ใครเป็นผู้จัดการมรดกได้บ้าง เมื่อเป็นผู้จัดการมรดกแล้วต้องดำเนินการอย่างไร ผู้เขียนเคยนำเสนอบทความเกี่ยวกับผู้จัดการมรดกไว้แล้ว เข้าไปอ่านทบทวนได้ 

               เมื่อได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดก ใช่ว่าจะเป็นเจ้าของทรัพย์มรดกของผู้ตายเลยในทันที่ แต่เป็นเพียงผู้ทำหน้าที่จัดการมรดกของผู้ตายเท่านั้น เมื่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1600 บัญญัติว่่ากองมรดกของผู้ตาย ได้แก่ทรพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย ตลอดทั้งสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่างๆ เว้นแต่ตามกฎหมายหรือโดยสภาพเป็นการเฉพาะตัวโดยแท้  

                จากบทบัญญัติดังกล่าว กองมรดกของผู้ตาย ได้มีการกล่าวถึงความรับผิดต่างๆ ไว้ด้วย ซึ่งความรับผิดนั้น อาจมีหลายอย่างที่เจ้ามรดกได้ก่อให้เกิดขึ้นไว้ ถ้าเป็นความรับผิดในทางหนี้ ก็ถือว่าเป็นความรับผิดที่เป็นมรดกเช่นเดียวกัน หนี้ในที่นี่มีหนี้อะไรบ้าง ก็มีมาตรา 1739 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บัญญัติไว้แล้ว คือ หนี้ที่เจ้าหนี้มีบุริมสิทธิพิเศษ หนี้ที่มีประกันโดยการจำนำหรือจำนอง หนี้ที่เป็นค่าใช้จ่ายเพื่อประโยชน์อันร่วมกันของกองมรดก หนี้ค่าใช้จ่ายในการทำศพเจ้ามรดก หนี้ค่าภาษีอากรซึ่งกองมรดกค้างชำระอยู่ หนี้ค่าจ้างซึ่งเจ้ามรดกค้างชำระแก่เสมียน คนใช้ และคนงาน หนึ้ค่าเครื่องอุปโภคหรือบริโภคอันจำเป็นประจำวันซึ่งส่งให้แก่เจ้ามรดก หนี้สินสามัญของเจ้ามรดก และหนี้บำเหน็จของผู้จัดการมรดก โดยการชำระหนี้ดังกล่าวต้องชำระตามลำดับที่กล่าว

 คลิกโฆษณา

             โดยเจ้าหนี้ ถือเป็นเจ้าหนี้กองมรดก ซึ่งมาตรา 1734  แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บัญญัติให้ เจ้าหนี้กองมรดก ชอบแต่จะได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินในกองมรดกเท่านัั้น ดังนั้น หนี้ที่เป็นมรดก จึงต้องชำระจากทรัพย์สินจากกองมรดกเท่านั้น เมื่อต้องชำระหนี้จากทรัพย์สินจากกองมรดกแล้ว ถ้าทรัพย์มรดกของผู้ตายมีไม่พอชำระหนี้ ก็ไม่ก่อให้ผู้จัดการมรดกต้องรับผิดเป็นส่วนตัว นั่นคือ ไม่ต้องแบกรับภาระหนี้ของผู้ตายไว้ และเจ้าหนี้ก็ไม่อาจฟ้องผู้จัดการมรดกให้รับผิดหนี้ดังกล่าวเป็นส่วนตัวได้ 

                เหตุผลที่ผู้จัดการมรดกไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว ถ้าพิจารณาในเรื่องนิติกรรมสัญญา ย่อมชัดเจนว่าผู้จัดการมรดก ไม่ได้เป็นคู่สัญญาในนิติกรรมที่ก่อให้เกิดหนี้ หรือไม่ได้เป็นผู้ก่อหนี้ ซึ่งเป็นเรื่องพื้นฐานของเรื่องหนี้   แต่ถ้าพิจารณาในเรื่องการทำหน้าที่ผู้จัดการมรดก ทางที่จะทำให้ผู้จัดการมรดกต้องรับผิดชอบในหนี้นั่นก็ยังไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้เช่นนั้น 

                หากผู้จัดการมรดกดำเนินการจัดทำบัญชีทรัพย์มรดกได้ถูกต้อง ครบถ้วนตามบทบัญญัติกฎหมาย  โดย มาตรา 1729 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บัญญัติให้ผู้จัดการมรดกต้องทำบัญชีทรัพย์มรดกให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ต้องลงมือจัดทำบัญชีทรัพย์มรดก เมื่อใดคือวันที่ต้องลงมือจัดทำทรัพย์มรดก ก็เป็นไปตามมาตรา 1728 คือ ภายใน15วัน  นับแต่เจ้ามรดกตาย และผู้นั้นรู้ถึงการแต่งต้ังตามพินัยกรรมให้เป็นผู้จัดการมรดก หรือนับแต่ัวันที่ได้ฟังหรือถือว่าได้ฟังคำสั่งศาลให้เป็นผู้จัดการมรดก (มาตรา 1728 มาตรา 1716) ซึ่งในการจัดทำบัญชีทรัพย์มรดกกำหนดให้ต้องทำต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคน ซึ่งพยานต้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดกนั้นด้วย (มาตรา 1728) และพยานต้องเป็นผู้ที่บรรลุนิติภาวะแล้ว  ไม่เป็นบุคคลวิกลจริตหรือบุคคลที่ศาลสั่งให้เป็นผู้เสมือนไร้ความสามารถ ไม่เป็นบุคคลที่หูหนวก เป็นใบ้ หรือจักษุบอดทั้งสองข้างด้วย และในการจัดทำบัญชีทรัพย์มรดก ทายาทจำต้องบอกทรัพย์มรดกและหนี้สินของผู้ตายตามที่ตนรู้ทั้งหมดแก่ผู้จัดการมรดกด้วย (มาตรา 1735) เมื่อบัญชีทรัพย์มรดกได้รับการยอมรับจากผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกนั้นทั้งหมดแล้ว การแบ่งปันมรดกให้แก่ทายาทต้องทำภายหลังเจ้าหนี้กองมรดกได้รับชำระหนี้แล้ว ซึ่งเป็นไปตามบทบัญญัติมาตรา 1736 วรรคสอง ก็ถือว่าผู้จัดการมรดกได้ทำหน้าที่ของตนของถูกต้องตามข้อกฎหมายแล้ว 

                    เมื่อทรัพย์สินที่เป็นกองมรดกมีไม่พอชำระหนี้กองมรดก  เจ้าหนี้กองมรดกจะฟ้องทายาทให้รับผิดในหนี้นั้นได้หรือไม่  ในเรื่องนี้ ก็ไม่มีกฎหมายให้อำนาจเจ้าหนี้กองมรดกทำเช่นนั้นได้ เนื่องจาก มาตรา 1601 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บัญญัติไว้ชัดเจนว่า ทายาทไม่จำต้องรับผิดเกินกว่าทรัพย์มรดกที่ตกทอดได้แก่ตน  ก็ตีความตรงๆตามตัวบท ทายาทได้รับมรดกแค่ไหนรับผิดในหนี้ก่องมรดกแค่นั้น เมื่อทรัพย์สินที่เป็นกองมรดก มีไม่พอชำระหนี้กองมรดก ก็จะบังคับให้ทายาทรับผิดเกินกว่าทรัพย์มรดกไม่ได้ 

                    การมีทรัพย์สินกองมรดกไม่พอชำระหนี้ ก็เป็นเรื่องที่เจ้าหนี้ต้องไปบังคับชำระหนี้ส่วนที่เหลือกับคู่สัญญาที่เกี่ยวข้องกับหนี้นั้นต่อไป  ผู้จัดการมรดกไม่ต้องแบกรับหนี้สินของผู้ตายไว้แต่อย่างใด