วันพฤหัสบดีที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2563

เบิกค่าเช่าซื้อบ้านที่ตั้งอยู่ต่างท้องที่ กับท้องที่ที่สำนักงานตั้งอยู่ (ค่าเช่าบ้านข้าราชการ)

 บทความโดยก้องทภพ แก้วศรี

 



      เบิกค่าเช่าซื้อบ้านที่ตั้งอยู่ต่างท้องที่ กับท้องที่ที่สำนักงานตั้งอยู่ 

    เป็นสิทธิที่ข้าราชการที่มีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้านจากราชการ จะสามารถนำหลักฐานการชำระค่าเช่าซื้อหรือผ่อนชำระเงินกู้เพื่อชำระราคาบ้านมาเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการตามสิทธิ ได้หรือไม่

      ข้าราชการจะเป็นผู้มีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการได้ (ซึ่งต้องไม่ใช่กรณีบุคคลที่ได้รับการบรรจุและแต่งต้ังให้รับราชการเป็นครั้งแรก )ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขของมาตรา ๗ แห่งพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ.๒๔๔๗คือ ข้าราชการที่ได้รับคำสั่งให้เดินทางไปประจำสำนักงานในต่างท้องที่  เว้นแต่ ผู้นั้นทางราชการได้จัดที่พักอาศัยให้  หรือมีเคหสถานอันเป็นกรรมสิทธิ์ของตนเองหรือคู่สมรสในท้องที่ที่ไปประจำ โดยไม่มีหนี้ค้างชำระกับสถาบันการเงิน หรือได้รับคำสั่งให้เดินทางไปประจำในต่างท้องที่ตามคำร้องของตนเอง จะไม่สามารถเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการได้  

โฆษณา(คลิก)

      เมื่อเป็นผู้มีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการ สามารถนำหลักฐานการเช่าซื้อหรือผ่อนชำระเงินกู้เพื่อชำระราคาบ้านที่ค้างชำระอยู่ มาเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการได้ มาตรา ๑๗ แห่งพระราชกฤษฎีกาเดียวกัน  โดยให้สามารถทำได้ เมื่อได้เช่าซื้อหรือผ่อนชำระเงินกู้เพื่อชำระราคาบ้านที่ค้างชำระอยู่ในท้องที่ที่ไปประจำสำนักงานใหม่  การเช่าซื้อที่จะเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการได้ จึงถูกจำกัดว่า ต้องเช่าซื้อในท้องที่ที่ไปประจำสำนักงานใหม่เท่านั้น ซึ่งคำว่า "ท้องที่" ตามมาตรา ๔ ให้ความหมายว่า กรุงเทพมหานคร อำเภอ กิ่งอำเภอ หรือท้องที่ของอำเภอหรือกิ่งอำเภอที่กระทรวงการคลังประกาศกำหนดให้เป็นท้องที่เดียวกันตามมาตรา ๕ 

       ท้องที่ที่ไปประจำสำนักงานแห่งใหม่ ที่ทำให้มีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการ รวมทั้งมีสิทธินำหลักฐานการเช่าซื้อหรือผ่อนชำระเงินกู้เพื่อชำระราคาบ้านที่ค้างชำระอยู่ มาเบิกกับทางราชการได้นั้น ต้องตีความรวมถึง ท้องที่ใกล้เคียงกับที่ตั้งสำนักงานงานเดิม มาพิจารณาด้วย  เนื่องจากตามมาตรา ๘ จำกัดสิทธิ(ไม่ให้เบิก)ข้าราชการในการเบิกค่าเช่าบ้าน ถ้าต้องไปประจำสำนักงานต่างท้องที่ เว้นแต่ท้องที่ใหม่ที่สำนักงานย้ายไปอยู่ใกล้เคียงกับท้องที่ที่ต้ังสำนักงานเดิม (ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการเบิกจ่ายเงินค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ.๒๕๔๙ ข้อ ๒๔ กำหนดหลักเกณฑ์ท้องที่ใหม่ที่อยู่ใกล้เคียงกับท้องที่ตั้งสำนักงานเดิมไว้แล้ว คือ (๑) การย้ายที่ต้ังสำนักงานจากกรุงเทพมหานครไปจังหวัดใกล้เคียง ต้องเป็นเขตท้องที่ใกล้เคียงหรือติดต่อกับกรุงเทพมหานครและมีรถยนต์โดยสารขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพให้บริการ ตามบัญชีรายชื่อท้องที่ใกล้เคียง ได้แก่  จังหวัดนนทบุรี ประกอบด้วยอำเภอเมืองนนทบุรี อำเภอบางกรวย อำเภอบางบัวทอง อำเภอบางใหญ่ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดปทุมธานี ประกอบด้วยอำเภอเมืองปทุมธานี อำเภอคลองหลวง อำเภอธัญบุรี อำเภอลำลูกกา จังหวัดสมุทรปราการ ประกอบด้วยอำเภอเมืองสมุทรปราการ อำเภอบางบ่อ อำเภอบางพลี อำเภอพระประแดง อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรสาคร ประกอบด้วยอำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดนครปฐม ประกอบด้วยอำเภอพุทธมณฑล  (๒)การย้ายที่ตั้งสำนักงานภายในจังหวัดเดียวกันหรือระหว่างจังหวัด  ต้องเป็นเขตท้องที่ติดต่อกันและมีขนส่งสาธารณะประจำทางให้บริการ ) ฉะนั้น  ถ้าผู้นั้นเป็นผู้มีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการเนื่องจากย้ายไปประจำสำนักงานแห่งใหม่ ถ้าได้เช่าซื้อบ้านในท้องที่ใกล้เคียงกับท้องที่สำนักงานแห่งใหม่ ย่อมควรได้สิทธินำหลักฐานการเช่าซื้อหรือผ่อนชำระเงินกู้เพื่อชำระราคาบ้านที่ค้างชำระอยู่ มาเบิกกับทางราชการได้ด้วย เช่น กรณีได้รับคำสั่งให้ย้ายไปประจำท้องที่ที่สำนักงานแห่งใหม่ในกรุงเทพมหานคร ควรที่จะมีสิทธิเช่าซื้อบ้านหรือนำหลักฐานการชำระเงินค่าบ้านในท้องที่ใกล้เคียงกับกรุงเทพมหานคร ตามประกาศกระทรวงการคลังดังกล่าวมาเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการได้ด้วย เช่น ย้ายไปประจำสำนักงานที่มีท้องที่อยู่ในกรุงเทพมหานคร ไปเช่าซื้อบ้านท้องที่อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรีก็ควรที่จะสามารถนำหลักฐานการเช่าซื้อมาเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการได้ แต่เรื่องนี้เมื่อมีการหารือไปยังกรมบัญชีกลาง จะได้รับการตอบข้อหารือว่า ไม่สามารถนำหลักฐานการเช่าซื้อบ้านนอกท้องที่กรุงเทพมหานครมาเบิกได้ จึงเกิดเป็นกรณีพิพาทอันนำไปสู่การพิจารณาของศาลปกครองตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ที่ อ.๑๕๘๗/๒๕๕๙  ที่สามารถนำมาเป็นแนวทางในการใช้สิทธิได้ 



      ในคดีดังกล่าวศาลได้วินิจฉัยอันเป็นหลักสำคัญว่า "...บทบัญญัติมาตรา ๗ แห่งพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการฯ เป็นการกำหนดเกี่ยวกับสิทธิของข้าราชการในการขอเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการ โดยกำหนดให้ข้าราชการได้รับคำสั่งให้เดินทางไปประจำสำนักงานในต่างท้องที่มีสิทธิจะได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการได้ เนื่องจากต้องการที่จะช่วยเหลือข้าราชการที่ได้รับความเดือดร้อนเรื่องที่อยู่อาศัยอันเนื่องมาจากทางราชการเป็นเหตุ ดังนั้น ถ้าหากข้าราชการที่ได้รับคำสั่งให้เดินทางไปประจำสำนักงานในต่างท้องที่ได้รับความเดือดร้อนต้องมีภาระเพิ่มขึ้นในการเช่าบ้านเพื่ออยู่อาศัยในระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ในต่างท้องที่ดังกล่าว ข้าราชการผู้นั้นย่อมมีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้านได้ แม้ว่าบ้านที่ได้เช่าและได้พักอาศัยเพื่อเดินทางไปปฏิบัติราชการจะตั้งอยู่ต่างท้องที่กับท้องที่ที่สำนักงานใหม่ตั้งอยู่ก็ตาม และตามมาตรา ๑๗ แห่งพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว ได้กำหนดให้ข้าราชการที่มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านและได้เช่าซื้อบ้านหรือผ่อนชำระเงินกู้เพื่อชำระราคาบ้านที่เช่าซื้อหรือบ้านที่ผ่อนชำระเงินกู้ ให้มีสิทธินำหลักฐานการชำระค่าเช่าซื้อหรือผ่อนชำระเงินกู้เพื่อชำระราคาบ้านมาเบิกค่าเช่าบ้านได้ไม่เกินจำนวนเงินที่กำหนดไว้ตามบัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการ ซึ่งการกำหนดให้ข้าราชการมีสิทธินำหลักฐานการชำระค่าเช่าซื้อหรือค่าผ่อนชำระเงินกู้มาเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการตามมาตรา ๑๗ เป็นการขยายสิทธิในการเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการตามมาตรา ๗ โดยขยายรวมไปถึงการเช่าซื้อหรือการผ่อนชำระเงินกู้เพื่อชำระราคาบ้านที่ค้างชำระด้วย  ทำให้ข้าราชการที่ประสงค์จะมีบ้านเป็นของตนเองโดยการเช่าซื้อหรือกู้เงินเพื่อชำระราคาบ้าน สามารถเบิกเงินค่าเช่าบ้านเพื่อนำไปชำระค่าเช่าซื้อหรือชำระหนี้เงินกู้ดังกล่าวบางส่วนได้ ทั้งนี้ เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมายที่ต้องการจะสนับสนุนให้ข้าราชการได้มีบ้านอยู่อาศัยเป็นของตนเอง และทำให้ทางราชการรับภาระค่าเช่าบ้านข้าราชการที่ต้องจ่ายให้แก่ข้าราชการผู้นั้นอย่างมีกำหนดเวลาตามระยะเวลาของการผ่อนชำระค่าเช่าซื้อหรือผ่อนชำระเงินกู้เพื่อชำระราคาบ้าน ประกอบกับกรณีที่ข้าราชการผู้ได้รับคำสั่งให้เดินทางไปประจำสำนักงานในต่างท้องที่และได้เช่าบ้านของบุคคลอื่นเพื่อพักอาศัยอยู่จริงในต่างท้องที่กับท้องที่สำนักงานใหม่ตั้งอยู่ยังมีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้านสำหรับบ้านเช่าที่ตั้งอยู่ต่างท้องที่ดังกล่าวตลอดมาตามมาตรา ๗ แห่งพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการฯ ได้ การตีความคำว่าท้องที่ตามมาตรา ๔  ประกอบมาตรา ๗ แห่งพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการฯ ของผู้ถูกฟ้องคดีย่อมทำให้เกิดความไม่ชอบธรรมต่อผู้ฟ้องคดีและไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย ดังนั้น เมื่อข้าราชการผู้ใดมีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการได้เช่าซื้อหรือผ่อนชำระเงินกู้เพื่อชำระราคาบ้านที่ต้ังอยู่ต่างท้องที่กับท้องที่ที่สำนักงานตั้งอยู่ และการเดินทางไปทำงานที่สำนักงานซึ่งได้รับคำสั่งให้ไปประจำไม่เป็นปัญหาหรืออุปสรรคต่อการปฎิบัติหน้าที่ราชการ ข้าราชการผู้นั้นก็ย่อมมีสิทธินำหลักฐานการชำระค่าเช่าซื้อหรือค่าผ่อนชำระเงินกู้หรือชำระราคาบ้านมาเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการได้ในทำนองเดียวกันกับการใช้สิทธิเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการสำหรับบ้านเช่าที่อยู่ต่างท้องที่กับท้องที่ที่สำนักงานตั้งอยู่  ...เมื่อผู้ฟ้องคดีเป็นผู้มีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการ การที่ผู้ฟ้องคดีนำหลักฐานการผ่อนชำระเงินกู้เพื่อชำระราคาบ้านที่ต้ังอยู่ในเขตจังหวัดนนทบุรี มาเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการ โดยจังหวัดนนทบุรีเป็นจังหวัดที่มีเขตติดต่อกับกรุงเทพมหานครด้านทิศเหนือและทิศตะวันออกเฉียงเหนือ จึงเป็นท้องที่ใกล้เคียงกับท้องที่ที่ต้ังสำนักงานของผู้ถูกฟ้องคดีตามบัญชีรายชื่อท้องที่ใกล้เคียงกรณีกรุงเทพมหานครกับจังหวัดใกล้เคียงท้ายระเบียบกระทรวงการคลัง...และการเดินทางไม่เป็นปัญหาอุปสรรคต่อการปฏิบัติหน้าที่ราชการ ทั้งไม่ปรากฎข้อเท็จจริงว่าผู้ฟ้องคดีไม่มีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการด้วยเงื่อนไขอื่นๆ แต่ประการใด ผู้ฟ้องคดีจึงมีสิทธินำหลักฐานการผ่อนชำระเงินกู้เพื่อชำระราคาบ้านที่ซื้อมาเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการได้นับแต่วันที่ได้เข้าพักอาศัยอยู่จริงตามมาตรา ๗ แห่งพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว ..."


         จากคำพิพากษาในคดีดังกล่าว การเบิกค่าเช่าซื้อบ้านที่ตั้งอยู่ต่างท้องที่ กับท้องที่ที่สำนักงานตั้งอยู่ ศาลวางหลักที่สำคัญคือ มื่อข้าราชการผู้ใดมีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการได้เช่าซื้อหรือผ่อนชำระเงินกู้เพื่อชำระราคาบ้านที่ต้ังอยู่ต่างท้องที่กับท้องที่ที่สำนักงานตั้งอยู่ และการเดินทางไปทำงานที่สำนักงานซึ่งได้รับคำสั่งให้ไปประจำไม่เป็นปัญหาหรืออุปสรรคต่อการปฎิบัติหน้าที่ราชการ ข้าราชการผู้นั้นก็ย่อมมีสิทธินำหลักฐานการชำระค่าเช่าซื้อหรือค่าผ่อนชำระเงินกู้หรือชำระราคาบ้านมาเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการได้ในทำนองเดียวกันกับการใช้สิทธิเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการสำหรับบ้านเช่าที่อยู่ต่างท้องที่กับท้องที่ที่สำนักงานตั้งอยู่  ดังนั้น การขอนำหลักฐานการเช่าซื้อบ้านหรือการชำระเงินกู้เพื่อชำระค่าบ้าน ที่ซื้อต่างท้องที่กับท้องที่ไปประจำ ควรได้รับการพิจารณาให้เบิกค่าเช่าบ้านได้ เพราะตามเงื่อนไขที่ราชการกำหนดในการนำหลักฐานการเช่าซื้อมาเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการกำหนดให้ทำได้เพียงหลังเดียวและไม่เกินจำนวนเงินตามสิทธิ ไม่เกินจำนวนเงินที่เช่าซื้อ ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับข้าราชการและราชการมากกว่า ให้เช่าบ้านต่อๆไปโดยไม่ได้สิทธิในเคหสถานนั้นเลย และอาจจะมีการกระทำทุจริต เนื่องจากเช่าแล้วไม่ได้อยู่จริง ซึ่งเป็นเรื่องที่ผู้มีอำนาจ และกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง ควรที่จะวางแนวปฏิบัติการเบิกค่าเช่าซื้อตามแนวทางของคำพิพากษาศาลปกครองสุงสุดในคดีดังกล่าว มากกว่าที่จะปล่อยให้ข้าราชการนำคดีขึ้นสู่ศาล ซึ่งเสียค่าใช้จ่าย เสียเวลาและสูญเสียขวัญกำลังใจในการทำงาน 

 advertisment

*************************

ขอขอบคุณ 
           ๑.สรุปสาระสำคัญของคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ที่ อ.๑๕๘๗/๒๕๕๙ ที่เผยแพร่ทางเว็บไซด์ http://www.admincourt.go.th   วิชาการ /วารสาร/หนังสือวิชาการ : แนวคำวินิจฉัยของศาลปกครอง  
           ๒.ภาพจากเว็บไซด์ https://www.freepik.com/


วันศุกร์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2563

เลิกสัญญาจ้างพนักงานราชการ โดยไม่ชอบ ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน

 บทความโดย ก้องทภพ  แก้วศรี

 


     เลิกสัญญาจ้างพนักงานราชการ โดยไม่ชอบ ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน  

        เมื่อสถานศึกษาของรัฐเป็นหน่วยงานราชการมีหน้าที่จัดการศึกษา จึงถือเป็นหน่วยงานทางปกครอง ที่มีหน้าที่จัดทำบริการสาธารณะ เมื่อทำสัญญาจ้างบุคคลใดมาเป็นพนักงานราชการ ตำแหน่งครูผู้สอน ถือเป็นการจ้างบุคคลนั้นมาร่วมกันจัดทำบริการสาธารณะ สัญญาจ้างบุคคลมาเป็นพนักงานราชการดังกล่าว จึงมีลักษณะเป็นสัญญาทางปกครอง ตามความหมายของ มาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาทางปกครอง พ.ศ.๒๕๔๒ ที่บัญญัติว่า “สัญญาทางปกครอง หมายความรวมถึงสัญญาที่คู่สัญญาอย่างน้อยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองหรือเป็นบุคคลซึ่งกระทำการแทนรัฐ และมีลักษณะเป็นสัญญาสัมปทาน สัญญาที่ให้จัดทำบริการสาธารณะหรือจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภคหรือแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ” 

             เมื่อมีข้อโต้แย้งว่าเลิกสัญญาจ้างพนักงานราชการโดยไม่ถูกต้อง ไม่เป็นธรรม ขอให้ชดใช้ค่าเสียหาย จึงเป็นกรณีกล่าวหาว่าผู้มีอำนาจเลิกสัญญาจ้างพนักงานราชการ โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงเป็นกรณีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง ที่อยู่ในอำนาจของศาลปกครองที่พิจารณาวินิจฉัย โดยผู้ถูกเลิกสัญญา ถือเป็นผู้ได้รับความเดือดร้อนเสียหายหรือเสียหายโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้ และมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง จึงมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครองตามมาตรา๔๒ วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.๒๕๔๒เพื่อขอให้ศาลปกครองมีคำบังคับตามมาตรา๗๒ แห่งพระราชบัญญัติเดียวกัน (เทียบเคียงกับคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ที่ อ.๔๙๓/๒๕๖๐)

โฆษณา(คลิก)



            เมื่อมีกรณีเลิกสัญญาจ้างพนักงานราชการ โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายแล้วมีผลให้ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้กับผู้เสียหายด้วย โดยมีคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่พิจารณาวินิจฉัยเกี่ยวกับการเลิกสัญญาจ้างพนักงานราชการ ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานที่สามารถนำมาเป็นแนวปฏิบัติ ได้ คือ คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด คดีหมายเลขแดงที่ อ.๗๒๘/๒๕๖๒ ดังนี้
            ๑.คดีนี้ มีสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นผู้ถูกฟ้องคดี โดยข้อเท็จจริงในคดีผู้อำนวยการโรงเรียนซึ่งได้รับมอบอำนาจการปฏิบัติราชการแทนเกี่ยวกับพนักงานราชการ ตามคำสั่งสพฐ.ที่ ๑๖๒๖/๒๕๕๑ ลงวันที่ ๒๒ ธันวาคม ๒๕๕๑ ได้ทำสัญญาจ้างผู้ฟ้องคดีเป็นพนักงานราชการ มีกำหนดระยะเวลา ๓ ปี ๕ เดือน ในสัญญาข้อ ๗(๑)กำหนดว่า สัญญานี้สิ้นสุดเมื่อเข้ากรณีใดกรณีหนึ่งตามที่กำหนดในข้อ ๒๘ ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยพนักงานราชการ พ.ศ.๒๕๔๗ ข้อ ๑๐ กำหนดว่าพนักงานราชการจะต้องปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยพนักงานราชการ พ.ศ.๒๕๔๗ ประกาศหรือมติของคณะกรรมการบริหารพนักงานราชการ ประกาศ หรือคำสั่งของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่ออกตามระบียบสำนักนายกรัฐมตรีว่าด้วยพนักงานราชการ  พ.ศ.๒๕๔๗ ซึ่งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ ข้อ ๑๙ วรรคหนี่ง กำหนดว่า ในระหว่างสัญญาจ้าง ให้ส่วนราชการจัดให้มีการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานราชการ ดังต่อไปนี้ (๑) การประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานราชการทั่วไป ให้กระทำในกรณีดังต่อไปนี้ (ก) การประเมินผลการปฏิบัติงานประจำปี (ข) การประเมินผลการปฏิบัติงานเพื่อต่อสัญญาจ้าง... ข้อ ๒๐ กำหนดว่า พนักงานราชการผู้ใดไม่ผ่านการประเมินผลการปฏิบัติงานตามข้อ ๑๙ ให้ถือว่าสัญญาจ้างของพนักงานราชการผู้นั้นสิ้นสุดลง โดยให้ส่วนราชการแจ้งให้พนักงานราชการทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ทราบผลการประเมินการปฏิบัติงานของพนักงานราชการผู้นั้น และข้อ ๒๘(๔) กำหนดว่าสัญญาจ้างสิ้นสุดลงเมื่อไม่ผ่านการประเมินผลการปฏิบัติงานตามข้อ ๑๙ ประกอบกับประกาศคณะกรรมการบริหารพนักงานราชการ เรื่อง แนวทางการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานราชการ ลงวันที่ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗ ข้อ ๗ กำหนดว่า ให้มีการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานราชการทั่วไป ปีละ ๒ ครั้ง ตามปีงบประมาณ คือ ครั้งที่ ๑ ประเมินผลในช่วงการปฏิบัติงานระหว่างวันที่ ๑ ตุลาคม ถึง ๓๑ มีนาคม ครั้งที่ ๒ ประเมินผลในช่วงการปฏิบัติงานระหว่างวันที่ ๑ เมษายน ถึง ๓๐ กันยายน ข้อ ๘ วรรคหนึ่ง กำหนดว่า ให้หัวหน้าส่วนราชการแต่งตั้งคณะกรรมการกลั่นกรองการประเมินผลการปฏิบัติงานประกอบด้วย (๑) หัวหน้าส่วนราชการหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย เป็นประธาน (๒) หัวหน้าหน่วยงานที่มีพนักงานราชการทั่วไปปฏิบัติงานอยู่หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย เป็นกรรมการ(๓)ผู้ปฏิบัติงานด้านการเจ้าหน้าที่ เป็นกรรมการและเลขานุการ วรรคสอง กำหนดว่า คณะกรรมการกลั่นกรองการประเมินผลการปฏิบัติงานเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมจากการใช้ดุลพินิจของผู้บังคับบัญชาหรือผู้ประเมิน ก่อนที่จะเสนอผลการประเมินต่อหัวหน้าส่วนราชการ ข้อ ๙ กำหนดว่า เมื่อเสร็จสิ้นการประเมินผลการปฏิบัติงานแต่ละครั้งให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งเป็นผู้ประเมินแจ้งผลการประเมินให้พนักงานทั่วไปผู้รับการประเมินทราบ และให้คำปรึกษาแนะนำ แก่พนักงานทั่วไป ผู้ใดซึ่งผู้บังคับบัญชาได้ประเมินผลการปฏิบัติงานแล้ว มีค่าเฉลี่ยของผลการประเมินติดต่อกัน ๒ ครั้ง ต่ำกว่าระดับดี ให้ผู้บังคับบัญชาทำความเห็นเสนอหัวหน้าส่วนราชการเพื่อพิจารณาสั่งเลิกจ้างต่อไป


            ๒.ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำของผู้อำนวยการโรงเรียน คือ การแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานราชการ ครั้งที่๑(๑ตุลาคม ... ถึง๓๑ มีนาคม...)คณะกรรมการประเมินผลทั้งสามคนให้คะแนนประเมินผู้ฟ้องคดีด้านผลงานและด้านคุณลักษณธในการปฏิบัติงาน ๑.๑๕ คะแนน อยู่ในระดับปรับปรุง ผู้อำนวยการโรงเรียน ลงชื่อในช่องความเห็นของผู้ประเมินระบุว่า ผู้ฟ้องคดีมีพฤติกรรมเชิงปฏิเสธที่จะพัฒนา ปรับปรุงตนเองตามคำแนะนำและข้อเสนอของผู้บังคับบัญชา ไม่เอื้อต่อการปฏิบัติงานในส่วนต่างๆ ตามที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย บกพร่องต่อหน้าที่ธุรการโรงเรียนตามที่ได้รับมอบหมาย และบกพร่องด้านคุณธรรมจริยธรรมที่ดีงามในการปฏิบัติต่อผู้บังคับบัญชาและเพื่อนร่วมงาน โดยผู้ฟ้องคดีไม่ลงชื่อรับทราบผลประเมิน ผู้อำนวยการโรงเรียนบันทึกไว้เป็นหลักฐานว่า “ไม่ยอมรับทราบ” และมีคณะกรรมการประเมินลงชื่อเป็นพยานในวันเดียวกัน ต่อมาผู้อำนวยการโรงเรียน แต่งตั้งคณะกรรมการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานราชการครั้งที่ ๒ (๑ เมษายน...ถึง ๓๐ กันยายน ...) ซึ่งคณะกรรมการประเมินเป็นชุดเดียวกันกับครั้งที่ ๑ คณะกรรมการให้คะแนนประเมินทั้ง ๒ ด้าน คือด้านผลงานและด้านคุณลักษณะในการปฏิบัติงาน ได้ ๑.๑๕ คะแนน อยู่ในระดับปรับปรุง ผู้อำนวยการโรงเรียนลงชื่อในช่องความเห็นว่า ผู้ฟ้องคดีไม่สามารถปฏิบัติตามระเบียบปฏิบัติของโรงเรียน กระด้างกระเดื่องต่อผู้บริหารสร้างความแตกแยกในหมู่คณะ ไม่มีสัมมาคารวะต่อผู้บริหารและเพื่อนร่วมงาน ไม่มีความสามารถเท่าที่ควรในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในระดับก่อนประถมศึกษาและประถมศึกษาและมีพฤติกรรมเชิงปฏิเสธที่จะพัฒนา ปรับปรุงตนเองตามคำแนะนำและข้อเสนอแนะของผู้บังคับบัญชา ไม่ปรากฎชื่อผู้ฟ้องคดีลงชื่อรับทราบผลการประเมิน มีผู้อำนวยการโรงเรียนบันทึกไว้เป็นหลักฐานว่า “ผู้ฟ้องคดีไม่ยอมเซ็นรับทราบ” และมีคณะกรรมการประเมิน ลงชื่อเป็นพยาน

            ๓.ศาลปกครองสูงสุด พิจารณาวินิจฉัยว่า “ การที่ ข้อ ๘ ของประกาศคณะกรรมการบริหารพนักงานราชการ เรื่อง แนวทางการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานราชการ ลงวันที่ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗ กำหนดให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการกลั่นกรองการประเมินผลการปฏิบัติงานขึ้น ก็เพื่อให้การพิจารณากลั่นกรองการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานราชการในแต่ละครั้ง เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้รับการประเมินผลการปฏิบัติงาน ซึ่งถือเป็นขั้นตอนหรือวิธีการอันเป็นสาระสำคัญที่กำหนดไว้ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยพนักงานราชการ พ.ศ.๒๕๔๗ และประกาศคณะกรรมการบริหารพนักงานราชการ เรื่อง แนวทางการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานราชการ ลงวันที่ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗ อันถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของสัญญา เมื่อการผลการปฏิบัติงานของผู้ฟ้องคดีทั้งสองครั้ง ผู้อำนวยการโรงเรียน มิได้แต่งตั้งคณะกรรมการกลั่นกรองการประเมินผลการปฏิบัติงาน จึงการประเมินที่ไม่เป็นไปตามข้อสัญญาที่ได้ตกลงกันไว้ ประกอบกับกรณีที่ผู้อำนวยการโรงเรียน ได้ประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้ฟ้องคดีทั้งสองครั้งดังกล่าว ระบุเกี่ยวกับพฤติกรรมการการปฏิบัติงานและความประพฤติของผู้ฟ้องคดี นั้น เห็นได้ว่า กรณีผู้ฟ้องคดีมีพฤติกรรมเชิงปฏิเสธที่จะพัฒนาปรับปรุงตนเองตามคำแนะนำและข้อเสนอแนะของผู้บังคับบัญชา กระด้างกระเดื่องต่อผู้บริหาร สร้างความแตกแยกในหมู่คณะ รวมทั้งไม่มีสัมมาคารวะต่อผู้บริหารและเพื่อนร่วมงานดังกล่าว หากเป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นจริง ก็เป็นเพียงเรื่องความประพฤติที่ไม่เหมาะสมซึ่งผู้บังคับบัญชาจะต้องไปว่ากล่าวกันเท่านั้น  ส่วนกรณีที่ผู้อำนวยการโรงเรียนระบุว่าผู้ฟ้องคดีบกพร่องต่อหน้าที่ธุรการโรงเรียนตามที่ได้รับมอบหมาย และบกพร่องด้านคุณธรรมจริยธรรมที่ดีงาม ตลอดจนไม่มีความสามารถเท่าที่ควรในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในระดับก่อนประถมศึกษาและประถมศึกษา นั้น ก็ไม่ปรากฎพยานหลักฐานใดมที่สนับสนุนว่าผู้ฟ้องคดีมีพฤติการณ์เช่นนั้นจริง อีกทั้งไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าผู้อำนวยการโรงเรียนได้ดำเนินการให้มีการสอบสวนข้อเท็จจริงในเรื่องนี้เพื่อให้ผู้ฟ้องคดีได้มีโอกาสชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาดังกล่าว กรณีจึงไม่อาจนำมารับฟังว่าผู้ฟ้องคดีมีพฤติการณ์ดังกล่าว เพื่อจะอ้างเป็นเหตุในการบอกเลิกสัญญาจ้าง นอกจากนี้ ข้อเท็จจริงตามบันทึกการประชุมโรงเรียน...ผู้อำนวยการโรงเรียนได้ตำหนิการทำงานของผู้ฟ้องคดีหลายประการ ทำนองข่มขู่ว่าจะเลิกจ้าง และได้ตักเตือนการปฏิบัติงานผู้ฟ้องคดีว่าทำนองว่าจะเลิกจ้างผู้ฟ้องคดีหากไม่ปรับปรุงตัว ผู้อำนวยการโรงเรียนยอมรับกรณีที่มีกล่าวหาว่ามีความสนิทสนมกับนาง บ. นาง ม.และนาง ป(คณะกรรมการประเมินทั้งสามคน) เป็นพิเศษ และเมื่อวันที่ ๑๓ กรกฎาคม ได้ว่ากล่าวตักเตือนนาง ม. กับผู้ฟ้องคดี กรณีมีความบกพร่องในการปฏิบัติงาน โดยมีสาเหตุเริ่มต้นมาจากผู้ฟ้องคดีได้สอบถามเรื่องบัตรสุขภาพของนักเรียน จนทำให้เกิดการโต้เถียงกัน ย่อมทำให้ นาง ม.เกิดความไม่พอใจผู้ฟ้องคดีเป็นการส่วนตัว ดังนั้น การที่ นาง บ. นาง ม.และนาง ป ได้รับแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการประเมินผลการปฏิบัติงานผู้ฟ้องคดีทั้งสองครั้งโดยมิได้มีคณะกรรมการกลั่นกรองการประเมินผลการปฏิบัติงานอีกชั้นหนึ่งตามที่กำหนดในสัญญา ย่อมทำให้การประเมินผลการประเมินของผู้ฟ้องคดีที่อยุ่ในระดับควรปรับปรุงดังล่าวอาจมีเหตุแห่งความไม่เป็นกลางและเกิดจากการชี้นำหรือเป็นไปตามประสงค์ของผู้อำนวยการโรงเรียน ตามข้อเท็จจริงที่ปรากฎในบันทึกการประชุมโรงเรียน ที่ผู้อำนวยการโรงเรียนแสดงเจตนาอย่างชัดเจนตั้งแต่ต้นว่าจะเลิกจ้างผู้ฟ้องคดี ผลการประเมินการปฏิบัติงานของผู้ฟ้องคดีที่เป็นข้อพิพาทในคดีนี้จึงไม่น่าเชื่อถือ ดังนั้น จึงไม่อาจนำผลการประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้ฟ้องคดีที่อยู่ในระดับปรังปรุงมาเป็นเหตุเลิกจ้างได้ การบอกเลิกจ้างจึงเป็นการไม่ชอบด้วยสัญญาจ้างพนักงานราชการ เลขที่...

            ๔.คดีนี้ ศาลพิพากษาให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน โดยคิดจากอัตราเงินเดือนละ ๑๑,๐๓๐ บาท เป็นเวลา ๒๔ เดือน คิดเป็นเงินจำนวน ๒๖๔,๗๒๐ บาท โดยถือเป็นความเสียหายเช่นที่ตามปกติย่อมเกิดขึ้นจากการบอกเลิกสัญญาดังกล่าว (เป็นกรณีกระทำละเมิด)
            ๕.กรณีผู้ฟ้องคดี มีคำขอให้ผู้ถูกฟ้องคดียกเลิกหรือเพิกถอนคำสั่งเลิกจ้าง และให้ผู้ฟ้องคดีกลับเข้าปฏิบัติราชการเป็นพนักงานตามเดิม นั้น ศาลวินิจฉัยว่า “มาตรา ๗๒ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.๒๕๔๒ บัญญัติว่า ในการพิพากษาคดี ศาลปกครองมีอำนาจกำหนดคำบังคับโดยสั่งให้ใช้เงินหรือให้ส่งมอบทรัพย์สิน...ในกรณีที่มีการฟ้องเกี่ยวกับการกระทำละเมิดหรือความรับผิดของหน่วงงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือการฟ้องเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง คำขอของผู้ฟ้องคดีดังกล่าว จึงเป็นคำขอที่ศาลไม่อาจกำหนดคำบังคับให้ได้”

 


           จากคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดในคดีดังกล่าว ทำให้เห็นประเด็นที่นำเป็นแนวทางการปฏิบัติได้ โดยการแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินผลการปฏิบัติงานต้องแต่งตั้งบุคคลที่มีความเป็นกลาง และต้องแต่งตั้งคณะกรรมการกลั่นกรองการประเมินตามข้อกำหนดในสัญญา เพื่อตรวจสอบการประเมินนั้นด้วยเพื่อให้เกิดความเป็นธรรม ทั้งการที่ผู้อำนวยโรงเรียนเคยข่มขู่ ตักเตือนทำนองว่าจะเลิกจ้างย่อมแสดงออกถึงเจตนาที่ชัดเจนว่าจะเลิกจ้าง ส่วนกรณีพฤติกรรมเชิงปฏิเสธที่จะพัฒนาปรับปรุงตนเองตามคำแนะนำและข้อเสนอแนะของผู้บังคับบัญชา กระด้างกระเดื่องต่อผู้บริหาร สร้างความแตกแยกในหมู่คณะ รวมทั้งไม่มีสัมมาคารวะต่อผู้บริหารและเพื่อนร่วมงานเป็นเรื่องที่ผู้บังคับบัญชาจะต้องไปว่ากล่าวกัน กรณีที่ระบุว่าบกพร่องต่อหน้าที่ธุรการโรงเรียนตามที่ได้รับมอบหมาย และบกพร่องด้านคุณธรรมจริยธรรมที่ดีงาม ตลอดจนไม่มีความสามารถเท่าที่ควรในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในระดับก่อนประถมศึกษาและประถมศึกษา ต้องดำเนินการให้มีการสอบสวนข้อเท็จจริงในเรื่องดังกล่าว เพื่อให้ผู้ฟ้องคดีได้มีโอกาสชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาก่อน หากมีพยานหลักฐานปรากฏและผู้นั้นไม่สามารถหักล้างพยานหลักฐานได้ จึงจะถือว่าบุคคลนั้นมีพฤติกรรมดังกล่าวจริง
             เมื่อศาลพิพากษาว่าการเลิกสัญญาจ้างพนักงานราชการ โดยไม่ชอบด้วยสัญญาจ้างพนักงานราชการ จึงพิพากษาให้ สพฐ.ชดใช้ค่าเสียหาย ผู้อำนวยการโรงเรียน ผู้ใช้อำนาจในการปฏิบัติหน้าที่จะต้องถูกตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ เพื่อพิจารณาว่าเป็นการกระทำโดยจงใจหรือประมาณเลินเล่ออย่างร้ายแรงจนเป็นเหตุให้ สพฐ.ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน จำนวน ๒๖๔,๗๒๐ บาทหรือไม่ ส่วนจะเป็นการกระทำความผิดวินัยหรือไม่ อยู่ในดุลพินิจของ สพฐ.

advertisment



****************
ขอขอบคุณ

        ๑.ภาพจาก https://www.freepik.com/
        ๒.คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดจาก 
http://www.admincourt.go.th/

วันพุธที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2563

การซ้อมความเข้าใจ เกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง

 บทความโดย  ก้องทภพ  แก้วศรี

            

      ซ้อมความเข้าใจ เกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง 

        มีหนังสือเวียนของคณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ  กรมบัญชีกลาง (กค (กวจ) ซ้อมความเข้าใจ เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อจัดจ้างของส่วนราชการ ที่สำคัญๆมานำเสนอ เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง ดังนี้

            ข้อ ๑ หนังสือคณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ  ที่ กค (กวจ.)๐๔๐๕.๒/ว๑๑๑ ลงวันที่ ๕ มีนาคม ๒๕๖๑ เรื่อง ซ้อมความเข้าใจการเลือกใช้วิธีการจัดซื้อจัดจ้างตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.๒๕๖๐ กรณีวงเงินไม่เกิน ๕๐๐,๐๐๐ บาท
                 สาระสำคัญ  คือ กรณีที่การจัดซื้อจัดจ้างพัสดุแต่ละครั้งมีวงเงินในการจัดหาไม่เกิน ๕๐๐,๐๐๐ บาท หากหน่วยงานของรัฐประสงค์จะดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีประกาศเชิญชวนทั่วไปก็สามารถกระทำได้ ภายใต้ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.๒๕๖๐ ดังนี้
                ๑.การจัดซื้อหรือจ้างที่มีรายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะของพัสดุที่ไม่ซับซ้อนหรือเป็นสินค้าหรืองานบริการที่มีมาตรฐานและได้กำหนดไว้ในระบบ
e-catalog ให้ดำเนินการด้วยวิธี e-market
                ๒.การซื้อหรือจ้างที่เป็นสินค้าหรืองานบริการที่ไม่ได้กำหนดรายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะของพัสดุไว้ในระบบ e-catalog ให้ดำเนินการด้วยวิธี e-bidding
               ๓.กรณีหน่วยงานอยู่ในพื้นที่ ที่มีข้อจำกัดในการใช้สัญญาณอินเตอร์เน็ท ให้ดำเนินการด้วยวิธีสอบราคา

            ข้อ ๒ หนังสือคณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ  ที่ กค (กวจ.)๐๔๐๕.๒/ว ๒๑๗  ลงวันที่ ๗ พฤษภาคม ๒๕๖๑ เรื่อง ซักซ้อมความเข้าใจ เกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีเฉพาะเจาะจง ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.๒๕๖๐ ข้อ ๗๙

            สาระสำคัญ คือ กรณีการจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีเฉพาะเจาะจง วงเงินไม่เกิน ๕๐๐,๐๐๐ บาท หากเป็นพัสดุที่มีคุณลักษณะเฉพาะซับซ้อน ไม่เหมาะสมจะให้เจ้าหน้าที่คนใดคนหนึ่งเป็นผู้เจรจาตกลงราคากับผู้ประกอบการ ให้อยู่ในดุลพินิจของหัวหน้าหน่วยงานของรัฐ ที่จะแต่งตั้งคณะกรรมการจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีเฉพาะเจาะจงก็ได้ โดยให้คณะกรรมการฯ ดำเนินการตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.๒๕๖๐ ข้อ ๗๘(๑)(ง) โดยอนุโลม แล้วให้เสนอหัวหน้าหน่วยงานของรัฐเป็นผู้อนุมัติสั่งซื้อสั่งจ้างตามระเบียบฯ ข้อ ๘๖ ต่อไป

            ข้อ ๓ หนังสือคณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ  ที่ กค (กวจ.)๐๔๐๕.๒/ว ๒๒๐ ลงวันที่ ๗ พฤษภาคม ๒๕๖๑ เรื่อง การตีความนิยามคำว่า“ผู้มีผลประโยชน์ร่วมกัน” ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.๒๕๖๐ข้อ ๔

             สาระสำคัญ คือ  พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.๒๕๖๐ มาตรา ๖๗ วรรคสี่ กำหนดว่า “ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐเป็นผู้ยื่นข้อเสนอตั้งแต่สองรายขึ้นไป มิให้ถือว่าหน่วยงานของรัฐนั้นมีผลประโยชน์ร่วมกันหรือมีส่วนได้เสียกับหน่วยงานของรัฐอื่น” กรณีดังกล่าวนี้ ให้หมายความรวมถึงกรณีที่หน่วยงานของรัฐต่างประเทศเป็นผู้ยื่นข้อเสนอตั้งแต่สองรายขึ้นไปในคราวเดียวกันด้วย

            ข้อ ๔ หนังสือคณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ  ที่ กค (กวจ.)๐๔๐๕.๒/ว ๒๕๘ ลงวันที่ ๔ มิถุนายน ๒๕๖๑ เรื่อง แนวทางปฏิบัติในการจัดจ้างกรณีที่มีผู้เสนอราคาต่ำสุดเท่ากันหลายราย หรือมีผู้ที่ได้คะแนนรวมสูงสุดเท่ากันหลายราย
            สาระสำคัญ คือ
             ๑.วิธี
e-bidding กรณีใช้เกณฑ์ราคาประกอบเกณฑ์อื่น
                มีผู้ได้คะแนนรวมสูงสุดเท่ากันหลายราย  พิจารณาจากผู้ได้คะแนนคุณภาพมากที่สุด
             ๒.วิธีสอบราคาหรือคัดเลือก 
                 กรณีใช้เกณฑ์ราคา   มีผู้เสนอราคาต่ำสุดเท่ากันหลายราย  แจ้งผู้ที่เสนอราคาต่ำทุกรายเสนอราคาใหม่พร้อมกัน โดยการยื่นซองเสนอราคา
                 กรณีใช้เกณฑ์ราคาประกอบเกณฑ์อื่น  มีผู้ได้คะแนนรวมสูงสุดเท่ากันหลายราย พิจารณาจากผู้ได้คะแนนคุณภาพมากที่สุด

            ข้อ ๕ หนังสือคณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ ที่ กค (กวจ.)๐๔๐๕.๒/ว๒๕๙ ลงวันที่ ๔ มิถุนายน ๒๕๖๑ เรื่อง ซ้อมความเข้าใจนิยามความหมาย “งานก่อสร้าง” ตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาพรัฐ พ.ศ.๒๕๖๐
            สาระสำคัญ คือ
            ๑.ยกเลิกหนังสือด่วนที่สุด ที่ กค(กวจ.)ที่ ๐๔๐๕.๒/ว๑๑๒ ลงวันที่ ๕ มีนาคม ๒๕๖๑
            ๒.ซ้อมความเข้าใจนิยามความหมายของคำว่า “งานก่อสร้าง”ตามมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.๒๕๖๐ ดังนี
                 ๒.๑ การซ่อมแซม หมายถึง การซ่อม การดำเนินการ และหรือการเปลี่ยนแปลงส่วนประกอบอันเป็นโครงสร้างของสิ่งก่อสร้างหรือสิ่งก่อสร้างทั้งหมดหรือบางส่วนให้คงสภาพและหรือใช้งานได้ตามปกติดังเดิม
                 ๒.๒ การปรับปรุง หมายถึง การแก้ไข การกระทำ และหรือการดำเนินการอื่นใด อันเป็นโครงสร้างของสิ่งก่อสร้างทั้งหมดหรือบางส่วน ซึ่งได้ก่อสร้างแล้วให้มีสภาพที่ดียิ่งขึ้น
                 ๒.๓ การต่อเติม หมายถึง การดัดแปลง เปลี่ยนแปลง เพื่อต่อเติมหรือขยาย ซึ่งลักษณะขอบเขตแบบ รูปทรง สัดส่วน น้ำหนัก เนื้อที่ อันเป็นโครงสร้างของสิ่งก่อสร้างหรือสิ่งก่อสร้างทั้งหมดหรือบางส่วน ซึ่งได้ก่อสร้างไว้แล้วให้ผิดไปจากเดิม แต่มิใช่เป็นกรณีของการซ่อมแซม
                ๒.๔ การรื้อถอน หมายถึง การรื้อถอนหรือการดำเนินการอื่นใด เพื่อนำส่วนประกอบอันเป็นโครงสร้างของสิ่งก่อสร้างหรือสิ่งก่อสร้างทั้งหมดหรือบางส่วนออกไป
               กรณีตามข้อ ๒.๑-๒.๔ ให้พิจารณา ดังนี้
               หากการดำเนินการไม่มีผลกระทบต่อโครงสร้างหลัก หรือไม่มีผลกระทบต่อความปลอดภัย หรือไม่จำเป็นต้องควบคุมดูแลการปฏิบัติงานตลอดเวลา สามารถดำเนินการจัดจ้างในลักษณะอื่นที่มิใช่งานก่อสร้างได้หากการดำเนินการกระทบต่อโครงสร้างหลัก หรือกระทบต่อความปลอดภัย หรือต้องควบคุมดูแลการปฏิบัติงานตลอดเวลา ให้ดำเนินการจัดจ้างในลักษณะงานก่อสร้าง



            ข้อ ๖ หนังสือคณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ  ที่ กค (กวจ.)๐๔๐๕.๒/ว ๒๘๙  ลงวันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๖๑ เรื่อง แนวทางปฏิบัติในการพิจารณาคุณสมบัติของผู้ยื่นข้อเสนอที่เป็นกิจการร่วมค้าแนวทางปฏิบัติในการพิจารณาคุณสมบัติของผู้ยื่นข้อเสนอที่เป็นกิจการร่วมค้า
            สาระสำคัญ คือ 

            ๑.กรณีกิจการร่วมค้าได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลใหม่ 
                กิจการร่วมค้าต้องมีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่กำหนดไว้ในเอกสารประกวดราคาหรือสอบราคา  ยื่นข้อเสนอในนาม “กิจการร่วมค้า”  คุณสมบัติด้านผลงานก่อสร้าง สามารถนำผลงานของผู้เข้าร่วมค้ามาแสดงได้  ผลงานก่อสร้างของผู้เข้าร่วมค้ามาใช้แสดงเป็นผลงานก่อสร้างของกิจการร่วมค้าที่เข้าประกวดราคาหรือสอบราคาได้ หมายความว่า สามารถนำผลงานก่อสร้างของผู้เข้าร่วมค้ารายใดรายหนึ่งมาใช้แสดงเป็นผลงานของกิจการร่วมค้าที่เข้าประกวดราคาหรือสอบราคาได้

            ๒.กรณีกิจการร่วมค้าที่ไม่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลใหม่ 
                นิติบุคคลแต่ละนิติบุคคลที่เข้าร่วมค้าทุกราย จะต้องมีคุณสมบัติครบถ้วนตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในเอกสารประกวดราคาหรือสอบราคา เว้นแต่ กรณีที่กิจการร่วมค้ามีข้อตกลงระหว่างผู้เข้าร่วมค้าเป็นลายลักษณ์อักษรกำหนดให้ผู้เข้าร่วมค้ารายใดรายหนึ่งเป็นผู้รับผิดชอบหลักในการเข้ายื่นข้อเสนอต่อหน่วยงานของรัฐและแสดงหลักฐานดังกล่าวมาพร้อมกับการยื่นข้อเสนอ กิจการร่วมค้านั้น สามารถใช้ผลงานก่อสร้างของผู้ร่วมค้าหลักรายเดียวเป็นผลงานก่อสร้างของกิจกรรมร่วมค้าที่ยื่นข้อเสนอในการประกวดราคาหรือสอบราคาได้
            ๓.สำหรับแนวทางปฏิบัติในการพิจารณาคุณสมบัติของผู้ยื่นข้อเสนอที่เป็นกิจการร่วมค้าให้ใช้บังคับถึงการคัดเลือกคุณสมบัติผู้ยื่นข้อเสนอที่เป็นกิจการร่วมค้าในการซื้อหรือจ้าง เช่าหรืองานบริการ หรืองานจ้างที่ปรึกษา หรืองานจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้างโดยอนุโลม

            ข้อ ๗ หนังสือคณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ  ที่ กค (กวจ.)๐๔๐๕.๒/ว ๔๒๗ ลงวันที่ ๒๑ กันยายน ๒๕๖๑ เรื่อง ซ้อมความเข้าใจในการปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.๒๕๖๐ กรณีคู่สัญญาแปรสภาพนิติบุคคล
             สาระสำคัญ คือ
            ๑.กรณีที่ผู้ประกอบการที่ยื่นข้อเสนอเป็นผู้ชนะการเสนอราคา ต่อมาก่อนลงนามในสัญญาได้จดทะเบียนแปรสภาพเป็นนิติบุคคลใหม่ หน่วยงานของรัฐสามารถลงนามในสัญญาหรือข้อตกลงกับนิติบุคคลดังกล่าวได้
           ๒.กรณีผู้ประกอบการที่ยื่นข้อเสนอ ได้ลงนามเป็นคู่สัญญาแล้ว ต่อมาได้จดทะเบียนแปรสภาพเป็นนิติบุคคลใหม่ หน่วยงานของรัฐสามารถแก้ไขสัญญาหรือข้อตกลงเพื่อเปลี่ยนแปลงคู่สัญญาได้ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างหรือการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.๒๕๖๐ ข้อ ๑๖๕
            ข้อ ๘ หนังสือคณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ  ที่ กค (กวจ.)๐๔๐๕.๒/ว ๘๓  ลงวันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒ เรื่อง การซ้อมความเข้าใจการบอกเลิกสัญญาหรือข้อตกลง ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.๒๕๖๐ ข้อ ๑๘๓
            สาระสำคัญ คือ
            ๑.เมื่อครบกำหนดส่งมอบสิ่งของหรืองานจ้างที่กำหนดไว้ในสัญญาหรือข้อตกลง และได้ล่วงเลยกำหนดระยะเวลาดังกล่าว จนมีค่าปรับเกิดขึ้นแล้ว เมื่อจำนวนค่าปรับที่เกิดขึ้นจะเกินกว่าร้อยละ ๑๐ ของวงเงินพัสดุหรือค่าจ้างตามสัญญาหรือข้อตกลง ให้หน่วยงานของรัฐมีหนังสือแจ้งบอกกล่าวกับคู่สัญญาว่าจำนวนค่าปรับที่เกิดขึ้นจะเกินร้อยละ ๑๐ แล้ว และจะดำเนินการบอกเลิกสัญญาหรือข้อตกลงต่อไป เว้นแต่ คู่สัญญาจะได้มีหนังสือแจ้งภายในระยะเวลาที่กำหนด โดยจะยินยอมเสียค่าปรับแก่หน่วยงานของรัฐโดยไม่มีเงื่อนไขใดๆทั้งสิ้น

               ๒.กรณีที่คู่สัญญาได้มีหนังสือแจ้งความยินยอมเสียค่าปรับให้แก่หน่วยงานของรัฐโดยไม่มีเงื่อนไขใดๆทั้งสิ้น ภายในระยะเวลาที่กำหนด ให้หัวหน้าหน่วยงานของรัฐพิจารณาผ่อนปรนการบอกเลิกสัญญาหรือข้อตกลงได้เท่าที่จำเป็น โดยหน่วยงานของรัฐต้องประเมินความคืบหน้าการดำเนินการตามสัญญาของคู่สัญญาว่า การผ่อนปรนดังกล่าวจะทำให้คู่สัญญาดำเนินการแล้วเสร็จหรือไม่ หรือจะต้องใช้ดุลพินิจว่าจะบอกเลิกสัญญาหรือไม่ ซึ่งมีแนวทางปฏิบัติดังนี้

                  ๒.๑ กรณีที่เห็นว่า ควรผ่อนปรนการบอกเลิกสัญญาหรือข้อตกลง ให้หน่วยงานของรัฐแจ้งคู่สัญญาให้รับทราบและดำเนินการตามสัญญาหรือข้อตกลงโดยเร็ว โดยคู่สัญญาจะต้องกำหนดแผนและระยะเวลาการดำเนินการแล้วเสร็จให้ชัดเจน

                  ๒.๒ ในกรณีที่จะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาหรือข้อตกลง ให้หน่วยงานของรัฐแจ้งการบอกเลิกสัญญาหรือข้อตกลงไปยังคู่สัญญาโดยเร็ว ทั้งนี้ การแจ้งบอกเลิกสัญญาหรือข้อตกลงจะต้องทำเป็นลายลักษณ์อักษร พร้อมกับการแจ้งการปรับและริบหลักประกันสัญญาหรือข้อตกลง(ถ้ามี)

               ๓.กรณีที่คู่สัญญาได้มีหนังสือแจ้งความยินยอมเสียค่าปรับให้แก่หน่วยงานของรัฐโดยมีเงื่อนไข หรือกรณีคู่สัญญาไม่มีหนังสือแจ้งความยินยอมดังกล่าวภายในระยะเวลาที่กำหนด โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร ให้หน่วยงานของรัฐแจ้งการบอกเลิกสัญญาหรือข้อตกลงไปยังคู่สัญญาโดยเร็ว ทั้งนี้ การแจ้งบอกเลิกสัญญาหรือข้อตกลงจะต้องทำเป็นลายลักษณ์อักษรพร้อมกับการแจ้งการปรับและริบหลักประกันสัญญาหรือข้อตกลง



            ข้อ ๙ หนังสือคณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ  ที่ กค (กวจ.)๐๔๐๕.๒/ว ๓๕๐ ลงวันที่ ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๖๒ เรื่อง ซ้อมความเข้าใจการปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.๒๕๖๐ ข้อ ๕๖ วรรคหนึ่ง

            สาระสำคัญ คือ  ระเบียบฯ ข้อ ๕๖ วรรคหนึ่ง กำหนดว่า ในกรณีที่ปรากฎว่ามีผู้ยื่นข้อเสนอเพียงรายเดียวหรือมีผู้ยื่นข้อเสนอหลายรายแต่ถูกต้องตรงตามเงื่อนไขที่กำหนดในเอกสารประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์เพียงรายเดียวให้คณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์เสนอหัวหน้าหน่วยงานของรัฐผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่เพื่อยกเลิกการประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ครั้งนั้น แต่ถ้าคณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่ามีเหตุผลสมควรที่จะดำเนินการต่อไปโดยไม่ต้องยกเลิกการประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ ให้คณะกรรมการดำเนินการตามข้อ ๕๗ หรือข้อ ๕๘ แล้วแต่กรณี โดยอนุโลม  เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติงานของหน่วยงานของรัฐ คณะกรรมการวินิจฉัย จึงซ้อมความเข้าใจแนวทางปฏิบัติตามระเบียบข้อ ๕๖ วรรคหนึ่ง โดยให้คณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ใช้ดุลพินิจภายหลังจากสิ้นสุดการเสนอราคาด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ดังนี้

            ๑.กรณีผู้ยื่นข้อเสนอเพียงรายเดียว และคณะกรรมการพิจารณาผลฯ พิจารณาเห็นสมควรยกเลิกการประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ คณะกรรมการพิจารณาผลฯ สามารถเสนอหัวหน้าหน่วยงานของรัฐเพื่อเลิกประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ครั้งนั้นได้ โดยไม่ต้องพิจารณาใบเสนอราคาและเอกสารประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ของผู้ยื่นข้อเสนอรายเดียวนั้น รวมถึงไม่ต้องจัดพิมพ์และลงลายมือกำกับเอกสารการเสนอราคาดังกล่าวตามนัยระเบียบกระทรวงการคลังฯ ข้อ ๕๕(๑)
              ๒.กรณีผู้ยื่นข้อเสนอเพียงรายเดียว และคณะกรรมการพิจารณาผลฯ พิจารณาแล้วเห็นสมควรดำเนินการต่อไป คณะกรรมการพิจารณาผลฯ จะต้องดำเนินการตามระเบียบฯ ข้อ ๕๕ กล่าวคือ จัดพิมพ์ใบเสนอราคาและเอกสารการเสนอราคาของผู้ยื่นข้อเสนอจากระบบประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ จำนวน ๑ ชุด โดยให้กรรมการทุกคนลงลายมือชื่อกำกับไว้ในใบเสนอราคา เอกสารการเสนอราคาของผู้ยื่นข้อเสนอทุกแผ่น และพิจารณาเอกสารของผู้ยื่นข้อเสนอรายนั้น รวมถึงดำเนินการตามระเบียบฯ ข้อ ๕๗ หรือ ๕๘ แล้วแต่กรณี โดยอนุโลม
              ๓.กรณีผู้ยื่นข้อเสนอหลายราย แต่ถูกต้องตามเงื่อนไขที่กำหนดเพียงรายเดียว คณะกรรมการพิจารณาผลฯ ต้องดำเนินการตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในระเบียบข้อ ๕๕ จึงจะสามารถทราบได้ว่ามีผู้ยื่นข้อเสนอถูกต้องเพียงรายเดียว และ

                 ๓.๑ หากคณะกรรมการพิจารณาผลฯ พิจารณาแล้วเห็นสมควรยกเลิก ก็ให้เสนอหัวหน้าหน่วยงานของรัฐเพื่อยกเลิกการประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ครั้งนั้น

                 ๓.๒ แต่หากพิจารณาแล้ว เห็นสมควรดำเนินการต่อไป ก็ให้ดำเนินการต่อไป ก็ให้ดำเนินการตามระเบียบฯ ข้อ ๕๗ หรือ ๕๘ แล้วแต่กรณี โดยอนุโลม

            ๔.กรณีประกวดราคานานาชาติ ตามระเบียบฯ ข้อ ๖๐(๓) วิธีสอบราคา ตามข้อ ๗๑ วรรคหนึ่ง วิธีคัดเลือก ตามข้อ ๗๕ วรรคหนึ่ง การจ้างที่ปรึกษาวิธีประกาศเชิญชวนทั่วไป ตามข้อ ๑๑๕ วรรคหนึ่ง และโดยวิธีการคัดเลือก ตามข้อ ๑๒๑ วรรคหนึ่ง วิธีการจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้างโดยวิธีประกาศเชิญชวนทั่วไป ตามข้อ ๑๔๗ วรรคหนึ่ง และโดยวิธีคัดเลือก ตามข้อ ๑๕๐ วรรคหนึ่ง ให้นำข้อ ๑ถึงข้อ ๓ มาใช้โดยอนุโลม

           ข้อ ๑๐ หนังสือคณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ  ที่ กค (กวจ.)๐๔๐๕.๒/ว ๑๑๗ ลงวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๖๒ เรื่อง การกำหนดวิธีปฏิบัติเพิ่มเติมเกี่ยวกับการตรวจสอบความชำรุดบกพร่องก่อนการคืนหลักประกัน
            สาระสำคัญ คือ
            ๑.ให้หัวหน้าหน่วยงานผู้ครอบครองพัสดุ หรือผู้ได้รับมอบหมาย มีหน้าที่ดูแลบำรุงรักษาและตรวจสอบความชำรุดบกพร่อง เว้นแต่กรณีไม่มีผู้ครอบครอง หรือมีผู้ครอบครองหลายหน่วยงานให้หัวหน้าเจ้าหน้าที่ มีหน้าที่ดูแลบำรุงรักษาและตรวจสอบความชำรุดบกพร่อง

            ๒.กรณีปรากฎความชำรุดบกพร่องภายในเวลา ผู้มีหน้าที่ตามข้อ ๑ รีบรายงานหัวหน้าหน่วยงานของรัฐเพื่อแจ้งให้ผู้ขายหรือผู้รับจ้างซ่อมแซมแก้ไขทันที พร้อมกับแจ้งให้ผู้ค้ำประกัน (ถ้ามี)ทราบด้วย

            ๓.ก่อนสิ้นสุดระยะเวลารับประกันความชำรุดบกพร่องภายใน ๑๕ วัน สำหรับหลักประกันสัญญาที่มีระยะเวลาการประกันไม่เกิน ๖ เดือน หรือภายใน ๓๐ วัน สำหรับหลักประกันสัญญาที่มีระยะเวลาตั้งแต่ ๖ เดือนขึ้นไป ให้ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบตรวจสอบความชำรุดบกพร่องและรายงานให้หัวหน้าหน่วยงานทราบอีกครั้งหนึ่ง หากปรากฏมีความชำรุด ให้แจ้งผู้ขายหรือผู้รับจ้างดำเนินการแก้ไขหรือซ่อมแซมก่อนสิ้นสุดระยะเวลารับประกัน พร้อมแจ้งให้ผู้ค้ำประกัน (ถ้ามี) ทราบ

            ทั้งนี้ ให้เจ้าหน้าที่แจ้งกำหนดระยะเวลารับประกันความชำรุดบกพร่องตามหลักประกันสัญญาให้หัวหน้าหน่วยงานผู้ครอบครองพัสดุหรือหัวหน้าเจ้าหน้าที่ทราบพร้อมกับส่งมอบพัสดุทุกครั้ง

 

 ****************

ขอขอบคุณ

        ภาพจาก https://www.freepik.com/
       

วันอังคารที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2563

ขอคืนที่ดินที่บริจาคให้ราชการ ซึ่งขึ้นทะเบียนเป็นที่ราชพัสดุ กรณีเลิกใช้ประโยชน์

บทความโดย ก้องทภพ แก้วศรี 

     ขอคืนที่ดินที่บริจาคให้ราชการ ซึ่งขึ้นทะเบียนเป็นที่ราชพัสดุ กรณีเลิกใช้ประโยชน์

        มีหลักกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการที่บุคคลขอคืนที่ดินที่บริจาคให้ราชการซึ่งขึ้นทะเบียนเป็นที่ราชพัสดุแล้ว มานำเสนอ เพื่อแนวทางในการปฏิบัติราชการที่เกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าว ตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ที่ อ.๑๐๑/๒๕๖๒ ดังนี้

         ข้อเท็จจริงในคดีดังกล่าว เป็นกรณีที่บุคคลบริจาคที่ดิน ประมาณ ๒ งาน ให้แก่กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เพื่อใช้เป็นสถานีผดุงครรภ์ ที่ดินขึ้นทะเบียนเป็นที่ราชพัสดุ กรมอนามัยดำเนินการก่อสร้างอาคารในที่ดินแปลงดังล่าว ใช้ประโยชน์มาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๐๙ ต่อมาเปลี่ยนเป็นสถานีอนามัยจนถึงปี พ.ศ.๒๕๒๒ จึงเลิกใช้ประโยชน์ โดยไปสร้างสถานีอนามัยในที่ดินแปลงอื่น เนื่องจากมีความคับแคบไม่เพียงพอแก่การให้บริการประชาชน ต่อมาบุตรของผู้บริจาคมาขอเช่าที่ดินเพื่ออยู่อาศัยและทำการเกษตร และมีหนังสือขอคืนที่ดินที่บริจาคให้ราชการ ซึ่งขึ้นทะเบียนเป็นที่ราชพัสดุแปลงดังกล่าว  



         
หลักกฎหมายที่ศาลใช้ในการพิจารณาในคดีนี้ คือ

         ๑.มาตรา ๑๓๐๔ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บัญญัติว่า สาธารณสมบัติของแผ่นดินนั้น รวมทรัพย์สินทุกชนิดของแผ่นดินซึ่งใช้เพื่อสาธารณประโยชน์หรือสงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกันเช่น...(๓) ทรัพย์สินใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ เป็นต้นว่า ป้อมและโรงทหาร สำนักราชการบ้านเมือง เรือรบ อาวุธ ยุทธภัณฑ์  

         ๒.พระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ.๒๕๑๘ มาตรา ๕ วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ให้กระทรวงการคลังเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ราชการพัสดุ มาตรา ๘ วรรคหนึ่งบัญญัติว่า การโอนกรรมสิทธิ์ที่ราชพัสดุเฉพาะที่ดินที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะให้กระทำโดยพระราชบัญญัติ ส่วนการโอนกรรมสิทธิ์ที่ราชพัสดุอื่นให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๙ บัญญัติว่า ที่ราชพัสดุเฉพาะที่ดินที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ เมื่อเลิกใช้ประโยชน์เช่นนั้น หรือเมื่อสิ้นสภาพการเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินแล้วหรือที่ราชพัสดุที่ทางราชการหวงห้ามไว้ และทางราชการไม่ประสงค์จะหวงห้ามอีกต่อไป ให้ถอนสภาพการเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือถอนการหวงห้าม แล้วแต่กรณีโดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา และให้มีแผนที่แสดงเขตที่ดินแนบท้ายพระราชกฤษฎีกานั้น ด้วย มาตรา ๑๒ วรรคหนึ่ง บัญญัติว่าให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

        ๓.กฏกระทรวงว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการโอนกรรมสิทธิ์ที่ราชพัสดุที่มิใช่ที่ดินที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ พ.ศ.๒๕๕๐ ข้อ ๔ วรรคหนึ่ง กำหนดว่าในการขออนุมัติจากคณะรัฐมนตรีเพื่อโอนกรรมสิทธิ์ที่ราชพัสดุแปลงใด ให้ปลัดกระทรวงการคลังแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่ง ประกอบด้วย อธิบดีกรมธนารักษ์ เป็นประธานกรรมการ ผู้แทนกระทรวงการคลัง ผู้แทนกรมที่ดิน ผู้อำนวยการสำนักประเมินราคาทรัพย์สินกรมธนารักษ์ หัวหน้ากลุ่มงานกฎหมาย กรมธนารักษ์ และผู้แทนส่วนราชการ หน่วยงานหรือองค์กรของรัฐ ผู้ดูแลรักษาหรือใช้ประโยชน์ในที่ราชพัสดุ ที่จะโอนกรรมสิทธิ์นั้นอีกไม่เกินสามคน เป็นกรรมการ... เพื่อพิจารณาและเสนอความเห็นต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงนี้... ข้อ ๘ วรรคหนึ่ง กำหนดว่า การให้ที่ราชพัสดุจะกระทำได้เฉพาะเพื่อการศาสนา การสาธารณกุศล การสาธารณประโยชน์อย่างอื่น หรือการโอนคืนให้แก่ผู้ยกให้หรือทายาท ข้อ ๙ วรรคหนึ่ง กำหนดว่า การโอนกรรมสิทธิ์ที่ราชพัสดุคืนให้แก่ผู้ยกให้หรือทายาท จะกระทำได้เมื่อทางราชการไม่ประสงค์จะใช้ประโยชน์ในที่ราชพัสดุนั้น ตามวัตถุประสงค์ของผู้ยกให้หรือมิได้ใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ของผู้ยกให้ภายในระยะเวลาที่ผู้ยกให้กำหนดไว้หรือภายในห้าปีนับแต่วันที่มีการยกที่ดินนั้นให้แก่ทางราชการ

        ๔.กฎกระทรวงการแบ่งส่วนราชการ กรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง พ.ศ.๒๕๕๗ ข้อ ๒ กำหนดว่า ให้กรมธนารักษ์ มีภารกิจเกี่ยวกับการปกครอง การดูแล การบำรุงรักษาและการพัฒนาที่ราชพัสดุ ให้มีมูลค่าเพิ่มหรือก่อให้เกิดรายได้ การประเมินราคาทรัพย์สินเพื่อประโยชน์สูงสุดของประเทศชาติและประชาชน และการผลิตเหรียญกษาปณ์และจัดสร้างเครื่องราชอิสริยยศ เครื่องราชอิสริยาภรณ์และของสั่งจ้าง ด้วยวิธีการผลิตที่ได้มาตรฐานสากลและมีต้นทุนที่เหมาะสม เพื่อให้มีจำนวนที่เพียงพอ ตลอดจนบริหารเงินตราและเก็บรักษาทรัพย์สินมีค่าของแผ่นดินให้มีความปลอดภัยและอยู่ในสภาพที่ดี เพื่อนำออกเผยแพร่และสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรม โดยให้มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑) ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลัง กฎหมายว่าด้วยเงินตรา กฎหมายว่าด้วยที่ราชพัสดุและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง

        ในคดีดังกล่าว ศาลวินิจฉัยว่า “...ที่ดินแปลงดังกล่าว ตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ใช้ประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ ตามมาตรา ๑๓๐๔(๓) แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และเป็นที่ราชพัสดุ ที่กระทรวงการคลังเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ ตามมาตรา ๕ มาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ.๒๕๑๘ เมื่อต่อมากรมอนามัยเลิกใช้ประโยชน์ในที่ดินแปลงดังกล่าวเนื่องจากสถานที่มีความคับแคบไม่เพียงพอแก่การให้บริการประชาชนและไปสร้างสถานีอนามัยในที่ดินแปลงอื่นตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๒๒ กรณีจึงถือว่ากรมอนามัยเลิกใช้ประโยชน์ในที่ดินแปลงดังกล่าวแล้ว  แต่ที่ดินยังคงมีสถานะเป็นที่ราชพัสดุอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะอยู่เช่นเดิม...”   
        “...เมื่อที่ดินแปลงดังกล่าวยังคงมีสถานะเป็นที่ราชพัสดุอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ ซึ่งหลักเกณฑ์ในการโอนทรัพย์สินซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามมาตรา ๑๓๐๕ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ นั้น จะกระทำได้ต่อเมื่ออาศัยอำนาจแห่งบทกฎหมายเฉพาะหรือพระราชกฤษฏีกา ซึ่งกรณีนี้ที่ดินพิพาทมีสถานะเป็นที่ราชพัสดุอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ การโอนที่พิพาทดังกล่าวจึงต้องอาศัยอำนาจแห่งบทกฎหมายเฉพาะ กล่าวคือ หลักเกณฑ์ในการโอนกรรมสิทธิ์ที่ราชพัสดุตามมาตรา ๘ แห่งพระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ.๒๕๑๘ ซึ่งแบ่งออกเป็นสองกรณี คือ การโอนกรรมสิทธิ์ที่ราชพัสดุที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะให้กระทำโดยการออกพระราชบัญญัติโอนกรรมสิทธิ์ ส่วนการโอนที่ราชพัสดุอื่น ให้โอนกรรมสิทธิ์ได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง...”
        “...ดังนั้น เมื่อกรมอนามัยไม่ได้ใช้ประโยชน์ในที่ดินตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๒๒ ประกอบกับทายาทของผู้ยกให้ที่ดินมีหนังสือลงวันที่ ๒ กันยายน ๒๕๕๗ ถึงธนารักษ์พื้นที่... ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดของกรมธนารักษ์ เพื่อขอคืนที่ดินที่ราชพัสดุดังกล่าว กรมธนารักษ์ซึ่งเป็นหน่วยราชการในสังกัดกระทรวงการคลังและมีหน้าที่ในการปกครองดูแลและบำรุงรักษาที่ราชพัสดุตามกฎกระทรวงว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการปกครอง ดูแล บำรุงรักษา ใช้และจัดหาประโยชน์เกี่ยวกับที่ราชพัสดุ พ.ศ.๒๕๔๕ ประกอบกับข้อ ๒(๑) ของกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง พ.ศ.๒๕๕๗ จึงเป็นหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องเบื้องต้นในการรวบรวมข้อเท็จจริงเสนอกระทรวงการคลังพิจารณาพยานหลักฐานทุกอย่างที่เกี่ยวข้องและรวบรวมข้อเท็จจริงพร้อมเสนอความเห็นเกี่ยวกับการขอโอนคืนที่พิพาทต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาว่าจะดำเนินการเสนอร่างพระราชบัญญัติโอนที่ราชพัสดุที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะดังกล่าวคืนให้แก่ทายาทผู้ยกให้ต่อรัฐสภาหรือไม่...”

        จากคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดในคดีดังกล่าว จะทำให้ทราบข้อกฎหมายและขั้นตอนการดำเนินการและหน่วยงานที่จะต้องรับผิดชอบดำเนินการ ดังนั้น หากมีกรณีบุคคคลหรือทายาทของผู้ยกที่ดินให้ราชการ มาขอคืนที่ดินที่บริจาคให้ราชการ ซึ่งขึ้นทะเบียนเป็นที่ราชพัสดุ และราชการไม่ได้ใช้ประโยชน์ในที่ดินดังกล่าวตามวัตถุประสงค์ที่ยกให้แล้ว ก็จะสามารถแจ้งขั้นตอนในการดำเนินการดังกล่าวได้ถูกต้อง ส่วนจะได้รับการโอนคืนจากราชการหรือไม่ เป็นอีกกรณีหนึ่ง


****************
ขอขอบคุณ

        ๑.ภาพจาก https://www.freepik.com/

        ๒.คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดจาก http://www.admincourt.go.th/       

วันจันทร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2563

ไม่รับราคาต่ำสุด ในการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง เป็นการทำละเมิด (การจัดซื้อจัดจ้าง)

บทความโดย ก้องทภพ แก้วศรี



      ไม่รับราคาต่ำสุด ในการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง 

       มีแนวคำพิพากษาของศาลปกครอง ที่น่าสนใจโดยมีหลักกฎหมายที่สามารถนำมาใช้เป็นแนวทางปฏิบัติในการจัดซื้อจัดจ้างได้ถูกต้อง เป็นประโยชน์ต่อทางราชการและจะไม่มีปัญหาเป็นการทำละเมิดที่จะต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน มานำเสนอ 
      ในคดีนี้ หน่วยงานราชการที่ถูกฟ้องคดีเป็นโรงเรียน เป็นผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) เป็นผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ โดยโรงเรียนประกาศสอบราคาจ้างเหมาก่อสร้างส้วมอาคาร สพฐ.๔(๔ ที่นั่ง) ปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๖ กำหนดราคากลางเป็นเงิน ๓๘๓,๐๐๐ บาท ผู้ฟ้องคดีเสนอราคาต่ำสุดที่ราคา ๒๔๙,๐๐๐ บาท คณะกรรมการเปิดซองสอบราคา เห็นว่าผู้ฟ้องคดีได้ยื่นเสนอราคา ๒๔๙,๐๐๐บาท ซึ่งเป็นราคาต่ำสุดและมีหนังสือรับรองผลงานก่อสร้างส้วมอาคาร สพฐ.๔ ในปี พ.ศ.๒๕๕๓ โดยคณะกรรมการเห็นว่าราคาที่เสนอต่ำกว่าวงเงินที่ได้รับจัดสรรงบประมาณ เป็นจำนวนเงินถึง ๑๐๓,๐๐๐ บาท คิดเป็นราคาลดลงร้อยละ ๒๙.๒๖ ของวงเงินงบประมาณ ซึ่งเป็นราคาที่ต่ำจนคาดหมายได้ว่าไม่อาจดำเนินงานตามสัญญาได้ เนื่องจากปัจจุบันราคาวัสดุก่อสร้าง ค่าแรง และค่า
FT ได้ปรับเปลี่ยนสูงขึ้นในปี พ.ศ.๒๕๕๖ ซึ่งในคดีนี้ ศาลวินิจฉัยว่า โรงเรียนไม่ได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในประกาศ เป็นการไม่ปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.๒๕๓๕ ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายเป็นค่าเสียโอกาสในการเข้าทำสัญญา
      คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดในคดีหมายเลขแดง อ.๕๑/๒๕๖๒ วินิจฉัยที่เป็นหลักในการปฏิบัติ ดงนี้



      ๑.คณะกรรมการเปิดซองสอบราคา ต้องพิจารณาคัดเลือกผู้ชนะตามหลักเกณฑ์และเงือนไขที่กำหนดไว้ในในประกาศ  โดยศาลวินิจฉัยว่า “เมื่อเป็นผู้มีคุณสมบัติถูกต้องตามเงื่อนไข ในเอกสารสอบราคาจ้าง และเป็นผู้เสนอราคาต่ำสุด หากเห็นว่าเป็นผู้เสนอราคาต่ำสุดได้เสนอราคาต่ำจนคาดหมายได้ว่าไม่อาจดำเนินงานตามสัญญาได้ ต้องให้ชี้แจงและแสดงหลักฐานที่ทำให้เชื่อได้ว่าสามารถดำเนินงานตามที่สอบราคาให้เสร็จสมบูรณ์ หากคำชี้แจงไม่เป็นที่รับฟังได้ จึงจะมีสิทธิไม่รับราคา ตามเอกสารสอบราคาจ้าง ตามประกาศ เรื่อง สอบราคาจ้างเหมาก่อสร้างส้วมอาคาร... ซึ่งกำหนดไว้ว่า ในกรณีที่ผู้เสนอราคาต่ำสุดเสนอราคาต่ำจนคาดหมายได้ว่าไม่อาจดำเนินงานตามสัญญาได้ คณะกรรมการเปิดซองสอบราคาหรือกรมจะให้ผู้เสนอราคานั้นชี้แจงและแสดงหลักฐานที่ทำให้เชื่อได้ว่าผู้เสนอราคาสามารถดำเนินงานตามที่สอบราคาให้เสร็จสมบูรณ์ หากคำชี้แจงไม่เป็นที่รับฟังได้ กรมมีสิทธิที่จะไม่รับราคาของผู้เสนอราคารายนั้น “
      ๒.การให้โอกาสชี้แจงและแสดงหลักฐาน ต้องดำเนินการก่อนที่คณะกรรมการเปิดซองสอบราคาจะตัดสินใจเลือกผู้ชนะการสอบราคา โดยศาลวินิจฉัยว่า “...ส่วนที่คณะกรรมการเปิดซองอ้างว่าได้ให้โอกาสชี้แจงและแสดงหลักฐานโดยผู้ฟ้องคดีได้เข้าสอบถามในวันที่มีการเปิดซองสอบราคา และคณะกรรมการสอบราคาได้มีหนังสือแจ้งต่อผู้ฟ้องคดีนั้น เห็นว่า การมีหนังสือชี้แจงในภายหลังที่มีการตัดสินใจเลือกให้ หจกเป็นผู้ชนะการสอบราคาแล้ว จึงมิใช่กรณีที่ได้ให้โอกาสผู้ฟ้องคดีชี้แจงและแสดงพนาหลักฐานตามเอกสารสอบราคาจ้างเนื่องจากการให้โอกาสชี้แจงและแสดงหลักฐาน ตามเอกสารสอบราคาจ้าง ต้องดำเนินการเสียก่อนที่คณะกรรมการเปิดซองสอบราคาจะตัดสินใจเลือกผู้ชนะการสอบราคา...”
      ๓.ต้องพิจารณาผลงานจากหนังสือรับรองผลงานของผู้เสนอราคาต่ำสุด ว่ามีความสามารถและประสบการณ์ที่ได้ประกอบกิจการด้านนี้ หรือไม่ ก่อนมีความเห็นไม่รับราคาต่ำสุด โดยศาลวินิจฉัยว่า “...ทั้งผู้ฟ้องคดีมีหนังสือรับรองผลงานประกอบการยื่นซองสอบราคาว่าเคยรับเหมาก่อสร้างโครงการในลักษณะเดียวกัน วงเงินจ้าง ๒๓๙,๙๐๐ บาท ต่ำกว่าวงเงินที่เสนอราคาครั้งนี้ จำนวน ๑๐,๐๐๐ บาท เพื่อแสดงว่าได้มีการปรับราคาตามความเหมาะสมของภาวการณ์ทางเศรษฐกิจ และผู้ฟ้องคดีมีหลักฐานทำสัญญาจ้างโครงการลักษณะเดียวกัน วงเงินจ้าง ๒๔๓,๐๐๐ บาท เพื่อแสดงให้เห็นถึงความสามารถและประสบการณ์ที่ได้ประกอบกิจการด้านนี้โดยตรงจากการรับจ้างทำงานให้แก่ส่วนราชการมาแล้วไม่น้อยกว่า ๒ แห่ง ดังนั้น การที่คณะกรรมการเปิดซองสอบราคาให้เหตุผลว่าเมื่อเปรียบเทียบกับงบประมาณ ที่กำหนดราคากลางไว้เป็นเงิน ๓๕๒,๐๐๐ บาท ราคาที่เสนอต่ำกว่างบประมาณถึง ๑๐๓,๐๐๐ บาท ซึ่งเป็นราคาที่ต่ำจนคาดหมายได้ว่าไม่อาจดำเนินงานตามสัญญาได้เสร็จสมบูรณ์ จึงเป็นเพียงความเชื่อหรือความคาดหมายของคณะกรรมการเปิดซองเท่านั้น”

โฆษณา(คลิก)


      ๔.การที่คณะกรรมการเปิดซองสอบราคา ไม่ให้ผู้เสนอราคาต่ำสุดชี้แจงตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในประกาศ และไม่พิจารณาผลงานของผู้เสนอราคาต่ำสุด ตามหนังสือรับรองที่เสนอมาพร้อมกับเอกสารประกอบการยื่นซองสอบราคา เป็นการปฏิบัติหน้าที่ไม่เป็นไปตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.๒๕๓๕ ในเรื่องไม่พิจารณาคัดเลือกพัสดุหรืองานจ้างของผู้เสนอราคาที่ถูกต้อง  ที่มีคุณภาพและคุณสมบัติเป็นประโยชน์ต่อทางราชการ และเสนอให้ซื้อหรือจ้างจากรายที่คัดเลือกไว้แล้ว ซึ่งเสนอราคาต่ำสุด และไม่ได้เปิดโอกาสให้มีการแข่งขันกันอย่างเป็นธรรม โดยศาลวินิจฉัยว่า “ ...การที่มิให้โอกาสผู้เสนอราคาต่ำสุดชี้แจงและแสดงหลักฐานเสียก่อนว่าสามารถดำเนินงานตามเอกสารสอบราคาจ้างให้สำเร็จหรือไม่ ก่อนที่จะตัดสินใจเลือกผู้ชนะการสอบราคา จึงเป็นกรณีที่คณะกรรมการเปิดซองสอบราคา ไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่ตามข้อ ๔๒(๓) ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.๒๕๓๕ ซึ่งกำหนดไว้ว่า คณะกรรมการเปิดซองสอบราคามีหน้าที่ดังนี้...(๓) พิจารณาคัดเลือกพัสดุหรืองานจ้างของผู้เสนอราคาที่ถูกต้องตาม (๒) ที่มีคุณภาพและคุณสมบัติเป็นประโยชน์ต่อทางราชการ และเสนอให้ซื้อหรือจ้างจากรายที่คัดเลือกไว้แล้ว ซึ่งเสนอราคาต่ำสุด...และตามหลักเกณฑ์และสิทธิในการพิจารณาราคาที่กำหนดในข้อ..ของเอกสารการสอบราคาจ้าง...ที่กำหนดว่าในกรณีที่ผู้เสนอราคาต่ำสุด เสนอราคาต่ำสุดจนคาดหมายได้ว่าไม่อาจดำเนินงานตามสัญญาจ้างได้ คณะกรรมการเปิดซองสอบราคาหรือกรมจะให้ผู้เสนอราคานั้น ชี้แจงและแสดงหลักฐานที่ทำให้เชื่อได้ว่าผู้เสนอราคาสามารถดำเนินงานตามที่สอบราคาให้เสร็จสมบูรณ์ หากคำชี้แจงไม่เป็นที่รับฟังได้ กรมมีสิทธิที่จะไม่รับราคาของผู้เสนอราคารายนั้น การดำเนินการเปิดซองสอบราคาดังกล่าว จึงไม่ได้เปิดโอกาสให้มีการแข่งขันกันอย่างเป็นธรรม ตามข้อ ๑๕ ทวิ ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.๒๕๓๕ วรรคหนึ่ง ที่กำหนดไว้ว่า การจัดหาพัสดุตามระเบียบนี้ ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในแต่ละขั้นตอนของการจัดหาต้องดำเนินการโดยเปิดเผย โปร่งใส และเปิดโอกาสให้มีการแข่งขันกันอย่างเป็นธรรม ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงคุณสมบัติและความสามารถของผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองาน เว้นแต่ กรณีที่มีลักษณะเฉพาะอันเป็นข้อยกเว้นตามที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้ วรรคสอง กำหนดว่า ในการดำเนินการแต่ละขั้นตอน ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบต้องมีการบันทึกหลักฐานในการดำเนินการ พร้อมทั้งต้องระบุเหตุผลในการพิจารณาสั่งการในขั้นตอนที่สำคัญไว้เพื่อประกอบการพิจารณาด้วย ...”

            ๕.ผลการการไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขที่กำหนดไว้ในประกาศ และระเบียบสำนักนายกรัฐมตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.๒๕๓๕ ถือเป็นการกระทำละเมิด ตามมาตรา ๔๒๐ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ประกอบมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.๒๕๓๕ ถือเป็นการกระทำละเมิดในการปฏิบัติหน้าที่ จึงต้องชดใช้ค่าเสียหาย เป็นค่าเสียโอกาสในการเข้าทำสัญญา ถือเป็นการขาดประโยชน์อย่างหนึ่ง โดยโรงเรียนเป็นผู้กระทำละเมิด  สพฐ.หน่วยงานต้นสังกัดต้องรับผิดต่อความเสียหายในผลแห่งละเมิดที่เจ้าหน้าที่ของตนได้กระทำในการปฏิบัติหน้าที่ ทั้งนี้ ค่าเสียหาย ศาลพิจารณาจากค่างานต้นทุนจากค่าก่อสร้าง กับผลกำไรที่คาดว่าจะได้รับ และผลกำไรนั้นยังไม่มีความแน่นอนว่าในกรณีที่ได้ทำสัญญาก่อสร้างแล้วจะได้กำไรเป็นจำนวนที่คาดหวังไว้  จึงเห็นว่าการทำงานให้ได้ปริมาณและคุณภาพงานตามมาตรฐานของงานตามราคากลาง ย่อมทำให้ผลกำไรที่จะได้รับลดน้อยลงไป โดยศาลวินิจฉัยว่า “...เมื่อได้วินิจฉัยแล้วว่าการกระทำของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ (โรงเรียน) เป็นการกระทำละเมิด ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ (สพฐ.) ซึ่งเป็นส่วนราชการต้นสังกัด และเป็นหน่วยงานของรัฐจึงต้องรับผิดในผลแห่งละเมิดที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ได้กระทำในการปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.๒๕๓๙ ที่บัญญัติว่า หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดต่อผู้เสียหายในผลแห่งละเมิดที่เจ้าหน้าที่ของตนได้กระทำในการปฏิบัติหน้าที่ ในกรณีนี้ผู้เสียหายอาจฟ้องหน่วยงานของรัฐดังกล่าวได้โดยตรงแต่จะฟ้องเจ้าหน้าที่ไม่ได้ คดีนี้นำมาฟ้องเพื่อเรียกร้องค่าเสียโอกาสในส่วนต่างจากราคาที่เสนอจำนวน ๒๔๙,๐๐๐ บาทกับราคาที่ผู้ชนะสอบราคาเสนอจำนวน ๓๔๙,๐๐๐ บาท เป็นเงินค่าเสียหายจำนวน ๑๐๐,๐๐๐ บาท การที่เสียโอกาสในการเข้าทำสัญญาถือเป็นการขาดประโยชน์อย่างหนึ่ง เมื่อเอกสารเสนอราคาปรากฏตามแบบสรุปค่าก่อสร้างมีงานต้นทุน ๑๙๖,๐๐๐ บาท จากค่าก่อสร้างจำนวน ๒๔๙,๐๐๐ บาท ผลกำไรที่คาดว่าจะได้รับจึงเป็นเงิน ๕๓,๐๐๐ บาท แต่โดยผลกำไร เป็นเงินจำนวนยังไม่มีความแน่นอนว่าในกรณีที่ได้ทำสัญญาก่อสร้างแล้วจะได้กำไรเป็นเงินจำนวนตามที่คาดหวังไว้ จึงเห็นว่าการทำงานให้ได้ปริมาณและคุณภาพงานตามมาตรฐานของงานตามราคากลาง ย่อมทำให้ผลกำไรที่จะได้รับลดน้อยลงไป ประกอบเมื่อได้พิเคราะห์ถึงพฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิดตามมาตรา ๔๓๘ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แล้ว เห็นควรกำหนดค่าเสียหายในส่วนค่าเสียโอกาสในการได้เข้าทำสัญญาเป็นเงินกึ่งหนึ่งของผลกำไรที่ผู้ฟ้องคดีคาดว่าจะได้รับ ซึ่งคำนวณได้เป็นเงินจำนวน ๒๖,๕๐๐ บาท สำหรับดอกเบี้ยในค่าเสียหาย ผู้ฟ้องคดีมีสิทธิที่จะได้รับในอัตราร้อยละ ๗.๕ ต่อปีนับแต่วันที่กระทำละเมิด...”


      เมื่อศาลพิพากษาให้ สพฐ.หน่วยงานต้นสังกัดรับผิดชดใช้ค่าเสียหาย ก็จะต้องมีการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ว่าเจ้าหน้าที่ได้กระทำไปในการปฏิบัติหน้าที่โดยจงใจหรือประมาณเลินเล่ออย่างร้ายแรงหรือไม่ เพื่อไล่เบี้ยให้เจ้าหน้าที่ผู้นั้นชดใช้ค่าเสียหายให้ราชการ ซึ่งได้ชดใช้ค่าเสียหายให้แก่บุคคลภายนอกไปแล้วตามคำพิพากษา ฉะนั้น จากคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่นำมาเสนอในเรื่องจะมีประโยชน์ต่อการจัดซื้อจัดจ้าง แม้ในปัจจุบันการจัดซื้อจัดจ้างไม่ได้ปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.๒๕๓๕ แล้วก็ตาม แต่ตามระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวกับการพัสดุ ยังมีรายละเอียดการปฏิบัติที่ไม่แตกต่างกันเท่าใดนัก จึงนำแนวคำวินิจฉัยของศาลในคดีดังกล่าวไปปฏิบัติหน้าที่ราชการต่อไปได้


****************
ขอขอบคุณ

        ๑.ภาพจาก https://www.freepik.com/
        ๒.คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดจาก 
http://www.admincourt.go.th/

วันอังคารที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2563

ส่งมอบพัสดุล่าช้า ไม่ถูกต้องตรงกับใบเสนอราคา เลิกสัญญาและริบเงินประกันได้ (การจัดซื้อจัดจ้าง)

 บทความโดย ก้องทภพ แก้วศรี

 

      ส่งมอบพัสดุล่าช้า ไม่ถูกต้องตรงกับใบเสนอราคา  เลิกสัญญาและริบเงินประกันได้

          ประเด็นการตรวจรับพัสดุหลังจากที่มีการจัดซื้อจัดจ้าง ถือเป็นขั้นตอนหนึ่งของการจัดซื้อจัดจ้างที่มีความสำคัญ  ซึ่งตามมาตรา๑๐๐แห่งพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.๒๕๖๐บัญญัติให้ผู้มีอำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจรับพัสดุ เพื่อรับผิดชอบการบริหารสัญญาหรือข้อตกลงและการตรวจรับพัสดุ  การตรวจรับพัสดุจึงต้องดำเนินการให้ถูกต้องตรงกับหลักฐานที่ตกลงกันไว้  ซึ่งระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างหรือการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.๒๕๖๐ กำหนดวิธีการตรวจรับพัสดุไว้ในข้อ ๑๒๗ เช่น (๒)ให้ตรวจรับพัสดุให้ครบถ้วนถูกต้องตรงตามหลักฐานที่ตกลงกันไว้... (๕)ในกรณีที่ผู้ขายหรือผู้รับจ้างส่งมอบพัสดุถูกต้องแต่ไม่ครบจำนวนหรือส่งมอบครบจำนวนแต่ไม่ถูกต้องทั้งหมด ถ้าสัญญาหรือข้อตกลงมิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ให้ตรวจรับไว้เฉพาะจำนวนที่ถูกต้อง และรีบรายงานหัวหน้าหน่วยงานของรัฐผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่เพื่อแจ้งให้ผู้ขายหรือผู้รับจ้างทราบภายใน ๓ วันทำการ นับถัดจากวันตรวจพบ ทั้งนี้ ไม่ตัดสิทธิ์หน่วยงานของรัฐที่จะปรับผู้ขาย หรือผู้รับจ้างในจำนวนที่ส่งมอบไม่ครบถ้วนหรือไม่ถูกต้อง  (๖) การตรวจรับพัสดุที่ประกอบกันเป็นชุดหรือหน่วย ถ้าขาดส่วนประกอบอย่างใดอย่างหนึ่งไปแล้วจะไม่สามารถใช้การได้อย่างสมบูรณ์ ให้ถือว่าผู้ขายหรือผู้รับจ้างยังมิได้ส่งมอบพัสดุ   
           กรณีมีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องใช้พัสดุ จึงมีการจัดซื้อโดยวิธีพิเศษ(ตามระเบียบเดิม) ประกอบกับพัสดุที่จัดซื้อเป็นพัสดุที่ต้องใช้ประกอบกันเป็นชุด ถ้าขาดส่วนประกอบส่วนใดส่วนหนึ่งแล้วจะไม่สามารถใช้งานได้อย่างสมบูรณ์ การส่งมอบพัสดุไม่ถูกต้องตรงกับหลักฐานที่ตกลงกันไว้ ทั้งเป็นการส่งมอบล่าช้าไม่เป็นไปตามระยะเวลาที่กำหนด หน่วยงานสามารถบอกเลิกข้อตกลงซื้อขาย และริบหลักประกันสัญญาได้ มีแนวคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ที่ อ.๑๑๗๖/๒๕๖๑ วินิจฉัยประเด็นที่สำคัญ คือ



           ๑.ศาลวินิจฉัยว่า เมื่อส่งมอบสินค้าเกินกำหนด ๑ วัน และพัสดุที่ส่งมอบมีคุณสมบัติไม่ตรงตามแบบเสนอราคา โดยไม่ใช่ยี่ห้อสินค้าที่กำหนดไว้ในแบบเสนอราคาที่ใช้ในการพิจารณาคุณสมบัติ อันได้แก่ ยี่ห้อสินค้าและราคาของสินค้าที่ผู้ฟ้องคดีเสนอราคาว่ามีความเหมาะสมที่ควรได้รับการคัดเลือก แบบเสนอราคาจึงเป็นสาระสำคัญ และเป็นส่วนหนึ่งของบันทึกข้อตกลง จึงต้องส่งมอบสินค้าให้มีรายการและคุณสมบัติตรงตามแบบเสนอราคา ไม่อาจส่งมอบสินค้ายี่ห้ออื่นนอกจากที่กำหนดไว้ได้ แม้สินค้านั้นจะมีคุณสมบัติในการใช้งานเหมือนกัน การส่งมอบสินค้ายี่ห้ออื่น จึงเป็นการชำระหนี้ที่ไม่ต้องตามความประสงค์อันแท้จริงแห่งหนี้ ตามมาตรา ๒๑๕ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ถือว่าเป็นฝ่ายผิดสัญญา เมื่อพัสดุต้องใช้ประกอบกันเป็นชุด ถ้าขาดส่วนประกอบส่วนใดส่วนหนึ่งไปแล้วจะไม่สามารถใช้งานได้โดยสมบูรณ์ ถือว่ามิได้ส่งมอบพัสดุที่คณะกรรมการตรวจรับที่จะปฏิเสธการตรวจรับการส่งมอบพัสดุ แม้บันทึกข้อตกลงซื้อขายไม่ได้กำหนดกรณีที่จะเลิกสัญญาได้ แต่เมื่อไม่ได้ส่งมอบพัสดุภายในระยะเวลาที่กำหนด จึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญาหรือบันทึกข้อตกลงซื้อขายได้ ตามมาตรา ๓๘๗ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ประกอบกับระเบียบกระทรวงมหาดไทย ข้อ ๑๓๐ วรรคหนึ่ง...(ข้อสังเกตในการวินิจฉัยคดีของศาลได้นำหลักกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาปรับใช้ มาประกอบกับระเบียบกฎหมายที่ส่วนราชการนั้นใช้บังคับ ซึ่งข้อเท็จจริงในคดีนี้ ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.๒๕๖๐ ข้อ ๑๒๗(๖) ถือว่าผู้ขายหรือผู้รับจ้างยังมิได้ส่งมอบพัสดุ ทำให้อีกฝ่ายเกิดสิทธิเลิกสัญญาหรือบันทึกข้อตกลงซื้อขายได้ )
            ๒.ศาลวินิจฉัยว่า กรณีเงินค้ำประกัน ที่ให้ไว้ในวันทำบันทึกข้อตกลงซื้อขาย มีลักษณะเป็นเงินมัดจำเพื่อเป็นประกันการปฏิบัติตามสัญญา ตามมาตรา ๓๗๗ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เมื่อบอกเลิกสัญญาเพราะผิดสัญญาแล้ว จึงมีสิทธิริบเงินค้ำประกัน อันมีลักษณะเป็นมัดจำตามมาตรา ๓๗๘(๒)(ให้ริบ ถ้าฝ่ายที่วางมัดจำละเลยไม่ชำระหนี้หรือการชำระหนี้ตกเป็นพ้นวิสัยเพราะพฤติการณ์อันใดอันหนึ่งซึ่งฝ่ายนั้นต้องรับผิดชอบหรือถ้ามีการเลิกสัญญาเพราะความผิดของฝ่ายนั้น)แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  เมื่อมาตรา ๓๙๑ วรรคสี่แห่งประมวลกฎหมายเดียวกัน บัญญัติให้การใช้สิทธิเลิกสัญญาไม่กระทบถึงสิทธิเรียกร้องค่าเสียหาย ประกอบกับมาตรา ๒๒๒ วรรคหนึ่ง บัญญัติให้การเรียกค่าเสียหายได้แก่ การเรียกค่าสินไหมทดแทน เพื่อความเสียหายเช่นที่ตามปกติย่อมเกิดขึ้นแต่การไม่ชำระหนี้  เมื่อศาลปกครองชั้นต้นพิพากษาให้ชดใช้ค่าเสียหายที่ได้รับมีมากกว่ามัดจำที่ริบไป จึงยังมิสิทธิได้รับการชดใช้ค่าเสียหายในส่วนที่เกินกว่ามัดจำด้วย

            หากเป็นการจัดซื้อพัสดุกรณีปกติ ผู้ขายหรือผู้รับจ้างส่งมอบพัสดุถูกต้องแต่ไม่ครบจำนวนหรือส่งมอบครบจำนวนแต่ไม่ถูกต้องทั้งหมด ถ้าสัญญาหรือข้อตกลงมิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างหรือการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.๒๕๖๐  ข้อ ๑๒๗ (๕) ให้ตรวจรับไว้เฉพาะจำนวนที่ถูกต้อง และรีบรายงานหัวหน้าหน่วยงานของรัฐผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่เพื่อแจ้งให้ผู้ขายหรือผู้รับจ้างทราบภายใน ๓ วันทำการ นับถัดจากวันตรวจพบ ทั้งนี้ ไม่ตัดสิทธิ์หน่วยงานของรัฐที่จะปรับผู้ขาย หรือผู้รับจ้างในจำนวนที่ส่งมอบไม่ครบถ้วนหรือไม่ถูกต้องแล้ว โดยถ้าไม่เข้าเงื่อนไขในการเลิกสัญญาหรือข้อตกลงตามมาตรา ๑๐๓ แห่งพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างหรือการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.๒๕๖๐ แล้วหากปรากฎว่าคู่สัญญาไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาหรือข้อตกลงได้ และจะต้องมีการปรับตามสัญญาหรือข้อตกลงนั้น  ก็ต้องดำเนินการปรับตามสัญญา และเมื่อปรับแล้วจำนวนเงินค่าปรับจะเกินร้อยละสิบของวงเงินค่าพัสดุหรือค่าจ้าง ให้หน่วยงานของรัฐพิจารณาดำเนินการบอกเลิกสัญญาหรือข้อตกลง เว้นแต่คู่สัญญาจะได้ยินยอมเสียค่าปรับให้แก่หน่วยงานของรัฐโดยไม่มีเงื่อนไขใดๆทั้งสิ้น ให้หน่วยงานของรัฐพิจารณาผ่อนปรนการบอกเลิกสัญญาได้เท่าที่จำเป็น (ระเบียบข้อ ๑๘๓) ดังนั้น หากจะไม่ยกเลิกสัญญา และปรับต่อไปเมื่อเกินวงเงินร้อยละสิบของวงเงินค่าพัสดุหรือค่าจ้าง ต้องให้คู่สัญญายินยอมเสียค่าปรับโดยไม่มีเงื่อนไขใดๆทั้งสิ้น ไม่เช่นนั้น ผู้ขายจะมาฟ้องขอคืนเงินค่าปรับที่เกินร้อยละสิบในภายหลังได้ ซึ่งมีคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด พิพากษาให้คืน ดังบทความที่ผู้เขียนเคยนำเสนอไว้ในเพจแล้ว  

****************
ขอขอบคุณ

        ๑.ภาพจาก https://www.freepik.com/
        ๒.คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดจาก 
http://www.admincourt.go.th/