วันอาทิตย์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2563

ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดวินัยอย่างร้ายแรงก่อนออกจากราชการ และหลังจากออกจากราชการ

บทความโดย ก้องทภพ แก้วศรี
          มีการแก้ไขพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547 เป็นฉบับที่ 4 พ.ศ.2562 ประกาศในราชกิจานุเบกษา เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2562 ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป โดยมีการยกเลิกมาตรา 102 เดิม แล้วใช้ความตามที่มีการแก้ไขใหม่ มีรายละเอียดดังนี้
           “มาตรา 102 ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้ใดซึ่งออกจากราชการอันมิใช่เพราะเหตุตาย  มีกรณีถูกกล่าวหาเป็นหนังสือก่อนออกจากราชการว่า  ขณะรับราชการได้กระทำหรือละเว้นกระทำการใด อันเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง  ถ้าเป็นการกล่าวหาต่อผู้บังคับบัญชาของผู้นั้นหรือต่อผู้มีหน้าที่สืบสวน สอบสวนหรือตรวจสอบตามกฎหมายหรือระเบียบของทางราชการ  หรือเป็นการกล่าวหาของผู้บังคับบัญชา ของผู้นั้น  หรือมีกรณีถูกฟ้องคดีอาญาหรือต้องหาคดอีาญาก่อนออกจากราชการว่าในขณะรับราชการได้ กระทำความผิดอาญาอันมิใช่เป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทที่ไม่เกี่ยวกับราชการหรือความผิดลหุโทษ  ผู้มีอำนาจดำเนินการทางวินัยมีอำนาจดำเนินการสืบสวนหรือพิจารณา  ดำเนินการทางวินัย  และสั่งลงโทษ ตามที่บัญญัติไว้ในหมวดนี้ต่อไปได้เสมือนว่าผู้นั้นยังมิได้ออกจากราชการ แต่ต้องสั่งลงโทษภายในสามปี นับแต่วันที่ผู้นั้นออกจากราชการ
            กรณีตามวรรคหนึ่ง  ถ้าเป็นการกล่าวหา  หรือฟ้องคดีอาญาหรือต้องหาคดีอาญาหลังจากที่ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้ใดออกจากราชการแล้ว  ให้ผู้มีอำนาจดำเนินการทางวินัยมีอำนาจ ดำเนินการสืบสวนหรือพิจารณา  ดำเนินการทางวินัย  และสั่งลงโทษตามที่บัญญัติไว้ในหมวดนี้ต่อไปได้ เสมือนว่าผู้นั้นยังมิได้ออกจากราชการ  โดยต้องเริ่มดำเนินการสอบสวนภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ผู้นั้น ออกจากราชการ  และต้องสั่งลงโทษภายในสามปีนับแต่วันที่ผู้นั้นออกจากราชการ  สำหรับกรณีที่เป็น ความผิดที่ปรากฏชัดแจ้งตามมาตรา  ๙๘  วรรคเจ็ด  จะต้องสั่งลงโทษภายในสามปีนับแต่วันที่ผู้นั้น ออกจากราชการ
            นกรณีที่ศาลปกครองมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้เพิกถอนคำสั่งลงโทษ  หรือองค์กรพิจารณา อุทธรณ์คำสั่งลงโทษทางวินยัหรือองค์กรตรวจสอบรายงานการดำเนินการทางวินัยมีคำวินัยฉัยถึงที่สุดหรือมีมติให้เพิกถอนคำสั่งลงโทษตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง  เพราะเหตุกระบวนการดำเนินการทางวินัย ไม่ชอบด้วยกฎหมาย  ให้ผู้มีอำนาจดำเนินการทางวินัยดำเนินการทางวินัยให้แล้วเสร็จภายในสองปีนับแต่ วันที่มีคำพิพากษาถึงที่สุด หรือมีคำวินิจฉัยถึงที่สุดหรือมีมติ  แล้วแต่กรณี 

 ประเด็นตามวรรคหนึ่ง

            1.ใช้กับกรณีที่ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้ใด ซึ่งออกจากราชการอันมิใช่เพราะเหตุตาย
            2.มีกรณีถูกกล่าวหาเป็นหนังสือก่อนออกจากราชการว่า ขณะรับราชการได้กระทำหรือละเว้นการกระทำใดอันเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง หรือมีกรณีถูกฟ้องคดีอาญาหรือต้องหาคดอีาญาก่อนออกจากราชการว่าในขณะรับราชการได้ กระทำความผิดอาญาอันมิใช่เป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทที่ไม่เกี่ยวกับราชการหรือความผิดลหุโทษ
            3.เป็นการกล่าวหาต่อผู้บังคับบัญชาผู้นั้นหรือต่อผู้มีหน้าที่สืบสวนสอบสวน หรือตรวจสอบตามกฎหมายหรือระเบียบของทางราชการ หรือเป็นการกล่าวหาของผู้บังคับบัญชาของผู้นั้น หรือมีกรณีถูกฟ้องคดีอาญาหรือต้องหาคดีอาญาก่อนออกจากราชการว่า ในขณะรับราชการได้กระทำความผิดอาญาอันมิใช่เป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทที่ไม่เกี่ยวกับราชการหรือความผิดลหุโทษ 

ประเด็นพิจารณา

            "ออกจากราชการอันมิใช่เพราะตาย"  อาจเป็นกรณีสมัครใจลาออกจากราชการ หรือจะออกจากราชการเพราะเหตุเกษียณอายุราชการ
            "มีกรณีถูกกล่าวหาเป็นหนังสือก่อนออกจากราชการ" ลักษณะการกล่าวหาเป็นหนังสือ กรณีบุคคลเป็นผู้กล่าวหาต้องระบุตัวผู้ถูกกล่าวหาทีมีตัวตน ติดต่อได้ มูลกรณีที่กล่าวหามีพยานหลักฐานอ้างอิงที่สามารถตรวจสอบหรือชี้ช่องให้ตรวจสอบได้  กรณีการกล่าวหาเป็นหนังสือไม่ระบุตัวผู้กล่าวหา ต้องมีพยานหลักฐานเบื้องต้นที่สามารถตรวจสอบได้ หรือชี้ช่องให้ตรวจสอบได้  การกล่าวหาเป็นหนังสือ โดยไม่ระบุชื่อผู้กล่าวหา ไม่ระบุหลักฐาน แต่ระบุเฉพาะหัวข้อเรื่อง ไม่เข้าข่ายการกล่าวหาตามมาตรานี้   
               ข้อที่ว่า "ว่าขณะรับราชการได้กระทำหรือละเว้นการกระทำใด อันเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง"   เป็นดุลพินิจของผู้ใช้อำนาจ โดยพิจารณาจากพยานหลักฐาน และมาตราฐานโทษของ สำนักงาน ก.ค.ศ.ประกอบ ทั้งนี้ ผู้ใช้อำนาจพึงระมัดการใช้ดุลพินิจที่เป็นการกระทำความผิตตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ด้วย 
            ผู้มีอำนาจดำเนินการทางวินัย มีอำนาจดำเนินการสืบสวนหรือพิจารณา  ดำเนินการทางวินัย  และสั่งลงโทษ ตามที่บัญญัติไว้ในหมวดนี้ต่อไปได้เสมือนว่าผู้นั้นยังมิได้ออกจากราชการ แต่ต้องสั่งลงโทษภายในสามปี นับแต่วันที่ผู้นั้นออกจากราชการ ในประเด็นนี้ ผู้มีอำนาจดำเนินการสืบสวน พิจารณา หรือดำเนินการทางวินัย ต้องเริ่มต้ั้งแต่ ผู้อำนวยการสถานศึกษา สำหรับการกล่าวหาข้าราชการในสถานศึกษา แล้วรายงานตามลำดับ จนถึงผู้มีอำนาจตามมาตรา 53 เพื่อให้มีการดำเนินการทางวินัย และลงโทษให้ทันภายในกำหนดสามปี นับแต่ออกจากราชการ

ประเด็นตามวรรคสอง
            1.เป็นการกล่าวหา  หรือฟ้องคดีอาญาหรือต้องหาคดีอาญาหลังจากที่ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้ใดออกจากราชการแล้ว
            2.ต้องเริ่มดำเนินการสอบสวนภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ผู้นั้น ออกจากราชการ  และต้องสั่งลงโทษภายในสามปีนับแต่วันที่ผู้นั้นออกจากราชการ  สำหรับกรณีที่เป็น ความผิดที่ปรากฏชัดแจ้งตามมาตรา  ๙๘  วรรคเจ็ด  จะต้องสั่งลงโทษภายในสามปีนับแต่วันที่ผู้นั้น ออกจากราชการ

ประเด็นพิจารณา
            การกล่าวหาหรือฟ้องคดีอาญา หรือต้องหาคดีอาญา หลังจากออกจากราชการ นั้น จะกล่าวหาภายในสามปี นับแต่วันออกจากราชการได้หรือไม่ ในประเด็นนี้ ตามตัวบทบัญญัติให้ต้องดำเนินการสอบสวนภายในหนึ่งปีนับแต่วันออกจากราชการ การกล่าวหาจึงไม่นับการกล่าวหาที่เกินหนึ่งปีนับแต่วันออกจากราชการ แต่ถ้าเป็นการกล่าวหาที่เป็นความผิดปรากฎชัดแจ้ง กฎหมายให้ลงโทษได้ภายในสามปีนับแต่วันออกจากราชการ ดังนั้น การกล่าวหาว่ามีความผิดปรากฎชัดแจ้งหลังหนึ่งปีนับแต่ออกจากราชการ แต่ไม่เกินสามปี ต้องดำเนินการลงโทษให้ทันภายในสามปีนับแต่วันที่ออกจากราชหาร เช่น ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก ในคดีความผิดเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ราชการ อันมิใช่ความผิดที่กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ  เป็นต้น ซึ่งความผิดอาญาที่เกี่ยวข้องกับกับเจ้าพนักงานปฎิบัติหน้าที่ มีอยู่หลายมาตรา ไม่ใช่เฉพาะมาตรา 157 ซึ่งเป็นบททั่วไปของความผิดของเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่ื 

ข้อสังเกต
            ถ้ามีการกล่าวหาเป็นหนังสือก่อนออกจากราชการหรือภายหลังออกจากราชการ ว่ากระทำความผิดวินัยอย่างร้ายแรง แต่ผู้มีอำนาจพิจารณาใช้ดุลพินิจสั่งการว่าเป็นการกระทำความผิดวินัยไม่ร้ายแรง  ก็จะไม่มีการดำเนินการทางวินัยในประเด็นนี้ แต่หากข้อกล่าวหามีพยานหลักฐานเบื้องต้น ระบุชื่อผู้กล่าวหา แต่ไม่มีการสืบสวนข้อเท็จจริงหรือมีการสืบสวนข้อเท็จจริงไว้แล้ว และผู้กล่าวหาไม่พอใจการใช้ดุลพินิจของผู้ใช้อำนาจขณะนั้น อาจมีการร้องเรียนไปยังผู้มีอำนาจเหนือกว่า หรือหน่วยงานที่ตรวจสอบการใช้อำนาจหน้าที่ ผู้ใช้อำนาจอาจมีความผิดวินัยและความผิดอาญา มาตรา 157 ได้ หากเป็นการใช้ดุลพินิจโดยไม่ชอบ ช่วยเหลือกัน  

ประเด็นตามวรรคสาม   มีความหมายชัดเจนในวิธีการปฏิบัติตามบทบัญญัติกฎหมาย ดังกล่าว  


*********************

 ขอขอบคุณ

        ๑.ภาพจาก https://www.freepik.com/
  


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น